กระทู้ความคิดเห็น

ผู้แสดงความคิดเห็น 0 คน
ผู้เข้าชม 1625 คน

????????????? ???????????
ไม้เด็ดแก้ทาง เจ้าหนูจำไม 


เจ้าหนูจำไม

ลูกน้อยในวัยเตาะแตะกำลังช่างพูด ใครๆ ต่างก็เอ็นดู แต่ถ้ารัวคำถามมาเป็นชุด บางข้อคงทำให้เราต้องกุมขมับ นี่เลย “ทำไมตุ๊กตาหมูของหนูไม่มีจู๋ล่ะ เขาเป็นผู้ชายไม่ใช่เหรอ” และถ้าคำตอบของคุณไม่ชัดเจน เจ้าหนูก็จะไม่หยุดถามง่ายๆ ยิ่งคำถามมาตอนกำลังยุ่ง อย่างมือเป็นระวิงเตรียมมื้อเย็น หรือกำลังเหยียบคันเร่งลงทางด่วน โอย..อยากจะกรี๊ด เอาละ อย่าเพิ่งสติแตกไป มาหาวิธีรับมือเด็กน้อยช่างซักไม่เลิกกันดีกว่า


เข้าใจก่อน เหตุใดเตาะแตะถึงชอบ ถาม ถาม ถาม

ผู้เชี่ยวชาญบอกว่า ช่วงวัยนี้เจ้าตัวเล็กกำลังเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ เหมือนกับเวลาที่ผู้ใหญ่อย่างเราๆ อยู่ต่างบ้านต่างเมืองก็ต้องมีการปรับตัวเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ ความรู้สึกใหม่ๆ ทุกวัน และการถามไม่หยุดก็เป็นสัญญาณให้เรารู้ว่าลูกกำลังมีพัฒนาการ เราสามารถสังเกตความก้าวหน้าของพัฒนาการได้จากลักษณะคำถามที่ลูกถาม ซึ่งสอดคล้องกับวัยด้วย
2 ขวบ คำถามติดปากคือ “นั่นอะไร นี่อะไร” และคำตอบของคุณก็จะกลายเป็นคลังคำศัพท์ให้ลูกเชียวละ
3 ขวบ สมองลูกกำลังพัฒนาอย่างเต็มที่ จะเริ่มมีคำถาม “ทำไม” อย่างเช่น ทำไมกลางคืนถึงมืด ทำไมต้องกินข้าว ฯลฯ ตอนนี้คำตอบของคุณจะช่วยให้เขาเข้าใจสิ่งที่เขาเห็นได้ชัดเจนขึ้น เชื่อมโยงเหตุและผลได้มากขึ้นค่ะ
4 ขวบขึ้นไป เด็กในวัยนี้จะได้เรียนรู้โลกภายนอกด้วยประสบการณ์ของเขาเอง อย่างเช่น เขารู้ว่าเมื่อก่อนโลกเราเคยมีไดโนเสาร์แต่ตอนนี้ไม่มีแล้ว เป็นต้น คำถามจากวัยนี้จะซับซ้อนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะคำถามเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันของสิ่งต่างๆ เช่น รถวิ่งได้อย่างไร


เจอคำถามยาก

บางคำถามของลูก อาจทำให้เรางงงันไปได้เหมือนกัน การตอบคำถามลูกไม่ได้ ไม่ใช่เพราะเราไม่ฉลาดนะคะ แต่การโกหก ห้ามไม่ให้ถาม หรือปล่อยให้ลูกถามโดยไม่มีคำตอบ ก็ไม่ใช่ทางออกที่ดีค่ะ
การตอบตรงๆ ว่า “ไม่รู้” และไม่ดำน้ำ เป็นทางออกที่ดี และยิ่งดีไปกว่านั้นถ้ามีประโยคต่อมา “แต่เราจะไปหาคำตอบด้วยกันนะลูก” พ่วงท้ายอยู่เสมอและนี่คือจุดใหญ่ใจความทีเดียว เพราะสิ่งสำคัญมากกว่าเนื้อหาคำตอบที่ลูกวัยนี้ควรได้เรียนรู้นั่นคือ การที่ลูกรู้จักตั้งคำถาม หรือมีข้อสงสัยเป็นเรื่องที่ดีมาก และเขาจะหาคำตอบได้ด้วยตัวเอง ได้หลายวิธี สะดวกสุดสมัยนี้คงเป็นอินเตอร์เน็ต แต่สำหรับเด็ก เขาจะเรียนรู้ได้ดีด้วยการใช้ประสาทสัมผัส จึงมีทางเลือกอีกมากเหมาะกับเขา ตั้งแต่เปิดหาจากหนังสือในบ้าน  จูงมือกันไปห้องสมุด เข้าร้านหนังสือ ไปพิพิธภัณฑ์ แหล่งเรียนรู้ต่างๆ  จนถึงไปดู ไปคุยและ ไปลงมือทำกับมืออาชีพเลย

นอกจากนี้ ในเหตุเฉพาะหน้า คุณจะเลือกวิธีแบบนี้ก็ยังได้ เค็นเนตเด็กชายอายุ 4 ขวบ ยิงคำถามเกี่ยวกับเรื่องไฟฟ้า ปัญหาอยู่ที่พ่อตอบได้ไม่มากนัก ดังนั้นพอเค็นเนตเริ่มถามยากมากขึ้น พ่อเลยถามกลับบ้าง “ลูกอยากได้คำตอบแบบไหนล่ะ วิทยาศาสตร์หรือจินตนาการ”
เจอแบบนี้ เค็นเนตก็เริ่มเดาได้ว่าพ่อรู้คำตอบจริงๆ หรือแต่งเรื่องขึ้นมาเอง แต่หลังจากปล่อยให้ลูกสนุกกับเรื่องเล่าของเราแล้ว อย่าลืมช่วยกันหาคำตอบที่ถูกต้อง ซึ่งเป็นวิธีที่สนุกกว่าการได้คำตอบมาง่ายๆ ตั้งเยอะนะคะ


เจอคำถามเบรคแตก

เจ้าหนูประเภทถามไม่จบหยุดไม่เป็นก็น่ากรี๊ดน่ะนะ  “คุณแม่กำลังทำไก่อบอยู่เหรอคะ มันตายหรือยัง คุณแม่ฆ่ามันหรอ แล้วมันตายยังไงคะ มันเป็นไก่ตัวผู้หรือตัวเมีย พ่อแม่ของมันจะคิดถึงมันไหมคะ เราต้องฝังมันในสุสานไหมคะ ทำไมล่ะคะ คนยังไปสุสานเลย ทำไมไก่ไม่มีสุสานคะ และบลา บลา บลา” โอ๊ย อยากหายตัวได้เดี๋ยวนั้นเลยใช่ไหมล่ะคะ
แต่สำหรับเมเรดิธ วิลล์สัน เธอบอกว่า “ไม่ใช่ปัญหาใหญ่หรอก” เพราะเธอตอบคำถามลูกชายวัย 4 ขวบระหว่างที่อ่านหนังสือให้ฟังตั้งแต่คำถามแรกซ้ำไปถึงครั้งที่ 20 ได้อย่างควบคุมสติดีทีเดียว!!โอ้… แม่เจ้า
ค่ะ เราไม่ต้องเหมือนคุณวิลล์สันก็ได้ ถ้าลูกเริ่มถามเป็นแผ่นเสียงตกร่อง เราบอกลูกได้ว่า “ตอนนี้หมดเวลาสำหรับคำถามแล้วจ้ะ” หรือ “แม่ว่าเก็บคำถามสนุกๆ ไว้ถามต่อคืนนี้ หรือพรุ่งนี้ดีกว่านะ” (ถ้าโชคดีพอ ถึงเวลาเจ้าตัวน้อยก็จะลืมแล้วละค่ะ) หรือเลิกให้ความสนใจกับคำถามเขาสักครู่ ไม่อย่างนั้นก็จะเป็นคุณวิลล์สันคนที่สองกันละ
อีกวิธีหนึ่งคือ หากิจกรรมสนุกๆ ที่ลูกสนใจให้ทำ พอเขาลืมคุณไปชั่วครู่ รีบฉกฉวยโอกาสอันสั้นนี้ชาร์จพลังเตรียมเผชิญหน้ากับกองทัพคำถามที่จะตามมาในอีกไม่ช้า!!

โดย ??? : 2014-09-01 12:08:24 IP : 110.171.36.24

ข้อความ *
รูปภาพ (รูปต้องมีขนาดไม่เกิน 50 k)
ผู้แสดงความคิดเห็น *
Email
 
New Code
Verify Code *

Your Data :
IP : 3.93.178.221
Internet form : ec2-3-93-178-221.compute-1.amazonaws.com
Date : 2024-03-29 15:35:16