กระทู้ความคิดเห็น

ผู้แสดงความคิดเห็น 0 คน
ผู้เข้าชม 1584 คน

6 ???????????????? ??????????? ??????
6 วิธีรับมือไม่ให้ ลูกเอาแต่ใจ ตัวเอง

เด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 6 ขวบ ลูกของเราจะเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก ซึ่งเด็กในช่วงปฐมวัยนี้ยังไม่สามารถใช้เหตุผลในการแก้ไขปัญหา แต่ลูกจะคอยสังเกตการตอบสนองจากคนรอบข้างทั้งพ่อแม่ และผู้ดูแล

หากพ่อแม่ที่ไม่รู้มาก่อนว่าลูกของตนนั้นกำลัง “ลองดี” กับตัวเองแล้วละก็ ลูกก็จะเรียนรู้ว่า “ถ้าทำอย่างนี้แล้วพ่อแม่จะยอม” ซึ่งเมื่อเด็กเรียนรู้ไปมากๆ เข้า ก็จะพัฒนากลายเป็นนิสัย และเริ่มรู้ว่าจะทำอย่างไรให้ผู้ใหญ่ยอมทำในสิ่งที่เขาต้องการนั้นเอง ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นแล้วพ่อแม่คงต้องเหนื่อยอีกเยอะเลยค่ะ วันนี้เรามีวิธีเตรียมรับมือไม่ให้ลูกเอาแต่ใจตัวเองและรับฟังเหตุผลพ่อแม่


คุณพ่อคุณแม่เคยเจอลูกมีอาการเหล่านี้บ้างหรือเปล่า

1.เวลาที่ลูกต้องการจะให้พ่อแม่ทำอะไรให้ เช่น กินขนม ซื้อของเล่น พาไปเที่ยว เมื่อไม่ได้ดั่งใจ ลูกก็จะร้องไห้งอแง หนักๆ เข้ามีอาการดิ้นลงไปกับพื้น ชักดิ้นชักงอ สุดท้ายพ่อแม่ก็ต้องยอมทำตามที่ลูกต้องการ

2.เวลาที่ไปขัดใจลูก เช่น ให้หยุดเล่นเพื่อไปทำกิจกรรมอื่น ลูกก็จะร้องไห้งอแง

3.เวลาที่พ่อแม่สอนหรือบอกลูกให้ทำอะไร ลูกมักจะต่อต้านหรือไม่ยอมทำตาม

สาเหตุที่ลูกมีอาการเหล่านั้นเพราะ

1.นับตั้งแต่ลูกเกิดออกมา ลูกของเราก็จะมีการเรียนรู้ เช่น เมื่อตัวเองรู้สึกหิว เมื่อร้องไห้แล้วมีน้ำนมให้กิน เด็กก็จะเรียนรู้ว่า อ้อ.. ถ้าหิวให้ร้องไห้นะ เดี๋ยวจะมีน้ำนมมาให้กินอิ่มอร่อย

2.เมื่อลูกเรียนรู้ว่าทำแบบไหนแล้วได้ผล แต่เมื่อทำซ้ำแล้วยังไม่ได้สิ่งที่ตัวเองต้องการ ลูกก็จะเพิ่มความรุนแรงของการกระทำขึ้นไปอีก เช่น ครั้งแรกพ่อแม่พาไปเที่ยวแล้วซื้อของเล่นหรือขนมให้ลูกกิน เมื่อพาลูกออกไปอีก ลูกก็จะให้เราซื้อขนมหรือของเล่นเพิ่มให้ เมื่อไม่ได้ลูกก็จะร้องไห้ หากการร้องไห้ครั้งนี้ทำให้พ่อแม่ใจอ่อนจนทำตามสิ่งที่ลูกต้องการ ลูกก็จะเรียนรู้และเข้าใจไปเองว่า “ทำแบบนี้แล้วพ่อแม่จะยอม”

เมื่อวันต่อๆ ไปอยากจะได้อะไร ลูกก็จะนำกลับไปใช้มุขเดิม คือ ร้องไห้งอแง ถ้าไม่ได้ ลูกก็จะร้องไห้หนักขึ้น ดังขึ้น มีอาการลงไปนั่งชักดิ้นชักงอ หากพ่อแม่ยอมตามใจลูก ลูกก็จะจดจำไปอีกว่า “ถ้าทำแบบขั้นที่ 1 ไม่ได้ ก็ทำแบบขั้นที่ 2 นี้ แล้วพ่อแม่จะยอมฉัน”

ยิ่งพ่อแม่เห็นลูกร้องไห้งอแงแล้วก็ตามใจ หรือพูดโอ๋ลูก ลูกก็จะยิ่งจดจำว่า ทำสิ่งนี้แล้วจะมีคนรัก คนเอาใจ ซึ่งเด็กทุกๆ คนจะเรียนรู้เองตามธรรมชาติ ทำให้ยิ่งโตขึ้น ลูกจะยิ่งเอาแต่ใจมากขึ้น และหากขัดใจ ก็จะร้องไห้หรือมีพฤติกรรมที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น


ทางแก้ไม่ให้ลูกเอาแต่ใจตัวเอง

1.ต้องทำความเข้าใจกับธรรมชาติของลูกให้มากว่าลูกในวัยนี้ (ช่วง 6 ขวบแรก) นั้น หากพ่อแม่สอนและฝึกไม่ตามใจลูกทุกครั้งที่ร้องไห้งอแง ลูกจะโตขึ้นมาโดยไม่ติดนิสัยเหล่านี้

2.ให้ลูกหัดเรียนรู้การช่วยเหลือตัวเอง เช่น พ่อแม่อาจจะเริ่มฝึกลูก (เริ่มตอน 2 ขวบ) ให้เริ่มใส่เสื้อผ้าเอง, กินข้าวเอง, ดื่มน้ำจากแก้วเอง ฯลฯ และควรพาลูกไปเล่นกับเพื่อนๆ ในวัยเดียวกัน เมื่อลูกไปเจอกับเพื่อนในวัยเดียวกัน ลูกจะเรียนรู้การแบ่งปัน การได้รับและการให้

3.เวลาที่ลูกร้องไห้เมื่อไม่ได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ (ประเภทลงไปนั่งดิ้นชักกระตุกๆ ที่พื้น) สิ่งแรกที่พ่อแม่ต้องทำคือ การเข้าไปอุ้มลูก กอดลูกไว้ โดยไม่ต้องไปโวยวาย ไปดุด่าว่าลูก แค่กอดลูกไว้เฉยๆ แล้วพาลูกออกมาจากสิ่งที่เขาต้องการ เช่น ร้านขนม ร้านของเล่น

การกอดลูกเอาไว้เฉยๆ โดยที่พ่อแม่ไม่ดุ ไม่ด่า ไม่ว่าอะไรลูก เมื่อลูกร้องไห้จนเหนื่อยและไม่เห็นสิ่งเร้า (สิ่งที่ตัวเองอยากได้ เช่น ขนม ของเล่น ฯลฯ) สักพักลูกก็จะลืมไปเอง ซึ่งเมื่อลูกอารมณ์เริ่มดีขึ้น พ่อแม่ควรสอนลูกว่าเหตุใดพ่อแม่จึงไม่ซื้อหรือทำสิ่งนั้นให้ลูก แต่ไม่ควรไปดุด่าลูกอีก แค่บอกเหตุผลว่าทำไมถึงไม่ทำหรือซื้อสิ่งนั้นให้ก็พอค่ะ

โปรดจำไว้ว่า แม้ว่าลูกจะยังเล็ก จะไม่เข้าใจเหตุผลที่พ่อแม่อธิบายไปทั้งหมด แต่ถ้าพ่อแม่ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ ลูกจะซึมซับถึงการใช้เหตุผล ไม่ใช่การใช้อารมณ์ของพ่อแม่โต้ตอบ พ่อแม่หลายคนมักจะด่าว่าลูกว่า “ร้องทำไม หยุดร้องเดี๋ยวนี้” ซึ่งทำให้ลูกรู้สึกว่าเขาไม่ได้รับความรัก พ่อแม่ไม่รักเขา ลูกจึงต้องเรียกร้อง (ด้วยการร้องไห้งอแง และดิ้นๆ เพิ่มขึ้นนั้นเอง)

4.หัดตั้งคำถามกับลูกบ่อยๆ ถามลูกว่าลูกรู้สึกยังไงบ้าง และลูกคิดยังไงกับสิ่งที่ตัวเองอยากได้ ทำไมถึงอยากได้สิ่งๆ นั้น และทำไมจะต้องเอาสิ่งๆ นั้นให้ได้

5.เปิดโอกาสให้ลูกได้หัดตัดสินใจเองบ้าง อาจจะเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ หรือเรื่องที่เกี่ยวกับตัวของลูกเอง เช่น จะเลือกเสื้อผ้าตัวไหนดี (ลูกจะได้อารมณ์ดี เพราะบางครั้งลูกอาจจะไม่อยากใส่ชุดที่พ่อแม่เลือกให้ก็ได้), มื้อเย็นนี้จะกินอาหารอะไรดี (มีเมนูอาหารให้เลือกหลากหลาย แล้วลูกเป็นคนตัดสินใจ) ฯลฯ เป็นต้น

6.พูดคุยกับลูกให้บ่อย เด็กในช่วงปฐมวัยนั้น พ่อแม่เป็นสิ่งยึดเหนี่ยวและเป็น “ของเล่น” ที่ดีที่สุดสำหรับเขา หากพ่อแม่พูดคุยกับลูกสม่ำเสมอ เล่นกับลูก ให้ความรัก กอดลูกให้มาก ลูกจะไม่ใช้ความก้าวร้าวเป็นตัวต่อรองกับพ่อแม่

โดย ??? : 2014-08-15 13:54:51 IP : 110.171.36.24

ข้อความ *
รูปภาพ (รูปต้องมีขนาดไม่เกิน 50 k)
ผู้แสดงความคิดเห็น *
Email
 
New Code
Verify Code *

Your Data :
IP : 18.223.210.249
Internet form : ec2-18-223-210-249.us-east-2.compute.amazonaws.com
Date : 2024-11-23 9:30:04