กระทู้ความคิดเห็น
ผู้แสดงความคิดเห็น 0 คน
|
????????????? ???? ???? ???????? |
คำแนะนำการบีบ เก็บ ถนอม น้ำนมแม่ คุณแม่หลังคลอดยุคใหม่ อาจไม่มีเวลาเลี้ยงดู ให้นมลูกด้วยตัวเองได้ตลอด? 24 ชั่วโมง?? การบีบน้ำนมเก็บสต๊อกไว้ให้ลูก เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะแก้ปัญหานี้ได้ค่ะ ขั้นตอนการบีบน้ำนมจากเต้า 1. ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ ก่อนการบีบและเก็บน้ำนมทุกครั้ง 2. นั่งในสิ่งแวดล้อมที่สงบ นั่งให้สบาย ผ่อนคลายจิตใจ ทำใจให้เป็นสุข จะช่วยให้น้ำนมหลั่งได้มาก 3. ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบเต้านม ประมาณ 3-5 นาที ก่อนบีบ 4. กระตุ้นหัวนม โดยการใช้นิ้วมือดึง หรือคลึงหัวนม 5. วางหัวแม่มือไว้ที่ขอบลานหัวนม และนิ้วมืออีก 4 นิ้วใต้เต้านมที่ขอบลานหัวนม 6. กดนิ้วเข้ากระดูกทรวงอก แล้วบีบนิ้วหัวแม่มือและนิ้วทั้ง 4 เข้าหากัน โดยเคลื่อนนิ้วหัวแม่มือมาทางด้านหน้าเล็กน้อย แต่ไม่ให้เลยขอบลานหัวนม 7. บีบเป็นจังหวะ ย้ายตำแหน่งที่วางนิ้วมือไปรอบๆ เต้านม เพื่อบีบน้ำนมออกให้หมดทุกแห่ง ทิ้งนมใน 2 ครั้งแรกที่บีบออกมาก่อน 8. บีบน้ำนมลงในขวดนมที่ต้มแล้ว หรือถุงพลาสติคที่สะอาด 9. บีบน้ำนมสลับข้างทุกๆ 5 นาที หรือเมื่อน้ำนมไหลช้า 10. เมื่อบีบเต้านมเสร็จ ให้บีบน้ำนมทาหัวนม ประมาณ 2-3 หยด แล้วปล่อยให้แห้ง หมายเหตุ: ข้อ 3 5 ไม่จำเป็นต้องปฎิบัติ หากไม่มีปัญหาเต้านมคัด การเก็บถนอมน้ำนมแม่ 1. เมื่อเก็บน้ำนมเสร็จ ควรปิดภาชนะให้มิดชิด แช่เย็นในตู้เย็นทันที เขียนวันที่ เวลา ที่ข้างขวด หรือถุง 2. นมที่ไม่ใช้ภายใน 2 วัน ควรเก็บในช่องแช่แข็ง ไม่ควรเก็บที่ประตูตู้เย็น เพราะอุณหภูมิไม่คงที่ 3. การส่งนมจากบ้านมาโรงพยาบาลต้องเก็บในกระติกน้ำแข็ง ระยะเวลาการเก็บรักษาน้ำนมแม่ วิธีการเก็บ ระยะเวลาที่เก็บได้ เก็บที่อุณหภูมิห้อง (>25 องศาเซลเซียส) 1 ชั่วโมง เก็บที่อุณหภูมิห้อง (<25 องศาเซลเซียส) 4 ชั่วโมง เก็บในกระติกน้ำแข็ง 1 วัน เก็บในตู้เย็นช่องธรรมดา 2-3 วัน เก็บที่ตู้เย็นแช่แข็ง (แบบประตูเดียว) 2 สัปดาห์ เก็บที่ตู้เย็นแช่แข็ง (แบบประตูแยก) 3 เดือน เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยจะช่วยให้น้ำนมไหลดีขึ้น 1. เมื่อเริ่มต้นบีบน้ำนม 1-2 นาที ขอให้คุณแม่ใจเย็นและบีบเป็นจังหวะช้าๆ 2. การบีบที่หัวนม ทำให้เจ็บและน้ำนมไม่ไหล เพราะเป็นการบีบท่อให้ตีบ น้ำนมไหลไม่ดี 3. ฝึกหัดทำสักระยะ จะค่อยๆ เก่งขึ้นเรื่อยๆ การนำน้ำนมแม่ที่แช่เย็นมาใช้ 1. นมแม่ที่เก็บในช่องธรรมดา ให้นำมาวางไว้นอกตู้เย็น หรือแช่ในน้ำอุ่น เพื่อให้หายเย็น ห้ามอุ่นในน้ำร้อนจัด หรือเข้าไมโครเวฟ เพราะภูมิต้านทานในนมแม่จะสูญเสียไป 2. นำนมเก่าในช่องแช่แข็งมาใช้ก่อน โดยนำมาไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา 1 คืน ให้ละลายตัว 3. นมแช่แข็งที่ละลายแล้ว ไม่ควรนำกลับไปแช่แข็งอีก 4. นมที่ละลายแล้ว วางที่อุณหภูมิห้องนานเกิน 1 ชั่วโมง ให้ทิ้งไป ไม่เก็บไว้กินต่อ น้ำนมมารดา เป็นอาหารที่เหมาะสำหรับทารกที่สุด มีสารอาหารครบถ้วน ประหยัด สะอาด ปลอดภัย ไม่มีการแพ้ และมีประโยชน์ในการช่วยต้านทานโรคต่างๆ
|
|
โดย ??? : 2014-08-15 13:52:45 IP : 110.171.36.24 |
|
|||||