กระทู้ความคิดเห็น

ผู้แสดงความคิดเห็น 1 คน
ผู้เข้าชม 1682 คน

???????????????????????????
หลากคำถามเกี่ยวกับฟลูออไรด์

เป็นที่ทราบดีในกลุ่มคุณแม่ในยุคปัจจุบันว่า ต้องพาลูกไปเคลือบฟลูออไรด์กับหมอฟัน แต่บางท่านยังไม่ค่อยแน่ใจว่า เคลือบไปทำไม เคลือบเพื่ออะไร บางท่านคิดว่า เคลือบแล้ว ฟันที่ผุจะได้ไม่ผุ แต่บางท่านก็ยังไม่ทราบว่าต้องเคลือบบ่อยแค่ไหน และเคลือบไปจนเด็กอายุเท่าไร บางท่านไปเคลือบมาแล้วหลังจากนั้นฟันของลูกดูดำๆ ก็ไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะเคลือบฟลูออไรด์หรือเปล่า… หลายคำถามที่ต้องการคำตอบ

ขั้นตอนการเคลือบฟลูออไรด์

การเคลือบฟลูออไรด์เป็นการนำฟลูออไรด์เจลมาสัมผัสกับผิวฟัน ซึ่งอาจใช้วิธีการทาเจลลงบนฟัน หรือนำเจลใส่ในถาดโฟมนิ่มๆรูปร่างโค้งตามรูปของขากรรไกร แล้วให้เด็กกัดถาดที่มีเจลนี้ไว้ ให้เจลสัมผัสกับฟันประมาณ 1-4 นาที โดยหมอจะทำหลังจากทำความสะอาดฟันให้แล้ววิธีการนี้ไม่มีอะไรเจ็บ เด็กๆอายุ 3 ปีขึ้นไป มักจะให้ความร่วมมือได้ ฟลูออไรด์เจลมีรสชาติที่เด็กๆชอบ  เมื่อครบเวลาก็จะให้บ้วนฟลูออไรด์ทิ้งให้หมด แล้วไม่ดื่มน้ำไม่ทานอะไรเลยครึ่งชั่วโมงค่ะ

หลายท่านคงสงสัยว่าเพียงเวลาไม่กี่นาทีนั้น ฟลูออไรด์เข้าไปทำอะไรที่ฟัน

ฟลูออไรด์เจลที่ใช้มีความเข้มข้นสูงมาก จะถูกดูดซึมเข้าผิวฟันในเวลารวดเร็ว และเข้าไปจับกับแคลเซียมสร้างเป็นผลึกของผิวเคลือบฟันที่แข็งแรงขึ้น  ทำให้ผิวเคลือบฟันต้านทานการผุได้ดีขึ้น ผุยากขึ้น  หมออยากย้ำว่า ผุยากขึ้นนะคะ ไม่ใช่ไม่ผุเลย  มีบ้างที่ผู้ปกครองพามาเคลือบฟลูออไรด์ทุก 6 เดือน แต่ให้ลูกทานลูกอมทุกวัน อย่างนี้ก็มีฟันผุได้ ก็มวยคู่นี้ไม่สูสีเลยนี่คะ ฟลูออไรด์ 6 เดือน/ครั้ง กับลูกอมอมทุกวัน ยังไงๆ ฟลูออไรด์ก็แพ้ ขอลูกอม 6 เดือน/ครั้งเหมือนๆกัน จะสูสีกันหน่อย อย่างนี้สู้สุดใจเลยนะคะหากมีฟันผุเป็นรูอยู่ เคลือบฟลูออไรด์จะช่วยได้ไหม  ฟลูออไรด์ไม่สามารถช่วยรักษาฟันที่ผุเป็นรูแล้วได้ค่ะ กรณีนี้ต้องอุดฟันที่ผุนะคะ ฟลูออไรด์เป็นเพียงตัวช่วยในการป้องกันฟันผุค่ะ ไม่ใช่ใช้รักษา เด็กๆจะเริ่มเคลือบฟลูออไรด์ได้เมื่อเด็กพร้อมค่ะ ส่วนใหญ่อายุ 3 ปีขึ้นไป และควรทำทุกๆ 4-6 เดือนเรื่อยไปจนอายุ 12-14 ปี โดยเด็กที่มีสุขภาพฟันที่ดีก็ทำทุก 6 เดือน แต่เด็กที่มีฟันผุง่ายด้วยหลายๆสาเหตุก็ควรทำบ่อยกว่าค่ะ

โดยปกติเด็กๆจะมีฟันผุได้ง่ายกว่าผู้ใหญ่ เป็นเพราะฟันที่เพิ่งขึ้นใหม่ในช่องปากเด็กยังไม่แข็งแรงเต็มที่ (ก็เหมือนเด็กที่ยังไม่มีภูมิต้านทานน่ะค่ะ เราจึงต้องช่วยเสริมสร้างให้ฟันที่เพิ่งขึ้นเหล่านี้แข็งแรงเร็วขึ้นด้วยฟลูออไรด์)  หลังจากฟันซี่นั้นๆขึ้นมาในช่องปากแล้วประมาณ 2 ปี ผิวฟันจึงจะแข็งแรงเหมือนฟันของผู้ใหญ่ ก็หยุดการเคลือบฟลูออไรด์ได้ และเนื่องจากเด็กจะมีฟันน้ำนมขึ้นในช่วง 6 เดือน-3 ปี และมีฟันแท้ขึ้นในช่วง 6-12 ปี การเคลือบฟลูออไรด์จึงต้องทำต่อเนื่องไปจนถึงอายุประมาณ 14 ปี อย่างไรก็ตาม วัยรุ่นที่อายุเกิน 14 ปีแล้ว หากจัดฟันก็ยังคงจำเป็นต้องเคลือบฟลูออไรด์อยู่จนกว่าจะถอดเครื่องมือจัดฟัน รวมทั้งใช้น้ำยาบ้วนปากฟลูออไรด์ทุกวันด้วยนะคะ เพราะมีความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุอยู่ค่ะส่วนคนที่ชอบทานขนมจุบจิบ ทานไปอ่านหนังสือไป หรือชอบอมลูกอม เสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ หมอก็พยายามหาตัวช่วยป้องกันฟันผุให้โดยเคลือบฟลูออไรด์ให้อยู่ หรือให้ใช้น้ำยาบ้วนปากฟลูออไรด์ด้วย แต่จริงๆแล้วการไม่ทานจุบจิบและไม่อมลูกอมจะดีกว่านะคะ ไม่เสี่ยงต่อฟันผุและไม่ต้องเคลือบฟลูออไรด์อีกผู้ใหญ่ส่วนใหญ่ก็ไม่จำเป็นต้องเคลือบฟลูออไรด์ ยกเว้นแต่ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ เช่นผู้ป่วยที่รับการรักษาโดยการฉายรังสีบริเวณใบหน้า จะมีน้ำลายไหลลดลง ภูมิต้านทานลดลง มีฟันผุง่ายขึ้น ควรเคลือบฟลูออไรด์เป็นประจำ โดยมีถาดฟลูออไรด์เฉพาะบุคคล และทันตแพทย์จ่ายฟลูออไรด์เจลให้ไปใช้ที่บ้านทุกวันจนกว่าจะสิ้นสุดการรักษาโดยฉายรังสีนอกจากฟลูออไรด์ชนิดเคลือบที่ทำเมื่อมาพบทันตแพทย์แล้ว ยังมีฟลูออไรด์ในยาสีฟัน ซึ่งเป็นฟลูออไรด์ความเข้มข้นต่ำๆ แต่มีโอกาสสัมผัสฟันทุกวันก็ช่วยป้องกันฟันผุได้ผลดีมาก แต่ต้องขอเวลาแปรงฟันอย่างน้อยสัก 2-3 นาทีนะคะ ไม่ใช่กวาดแปรงสีฟันวิ่งผ่านฟันรวดเร็วราวกับรถไฟด่วนชินคันเซ็นอย่างนั้น ฟลูออไรด์ยังไม่ทันเริ่มงานเลยค่ะ ก็โดนบ้วนทิ้งซะแล้ว

ฟลูออไรด์ทำให้ฟันดำหรือไม่  

ไม่ค่ะ ถึงแม้ฟลูออไรด์จะมีข้อดีในการช่วยป้องกันฟันผุ แต่ข้อเสียของฟลูออไรด์ที่สำคัญก็คือ ฟันตกกระ หรือ fluorosis ซึ่งมีลักษณะเป็นปื้นขาวขุ่นอยู่บนผิวเคลือบฟัน มักเกิดในฟันแท้ หากเป็นมากๆผิวฟันอาจเป็นหลุมขรุขระสีน้ำตาล เกิดจากการรับประทานฟลูออไรด์ในปริมาณที่มากเกินไปอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน เช่นได้จากทั้งในนม จากน้ำดื่ม แถมชอบกลืนยาสีฟัน และยังได้เสริมจากยาเม็ดฟลูออไรด์อีก ก็อาจทำให้เกิด fluorosis ได้ ช่วงอายุ 1-4 ปีเป็นช่วงที่ฟันแท้ซี่หน้ากำลังสร้างตัว หากได้รับฟลูออไรด์ชนิดรับประทานมากเกินไป ก็อาจทำให้เกิด fluorosis ในฟันหน้าแท้ ซึ่งมีผลต่อความสวยงาม ดังนั้น วัยเด็กเป็นวัยที่ต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษถึงปริมาณฟลูออไรด์ที่จะรับประทานเข้าไป จึงควรสอบถามปริมาณฟลูออไรด์ที่เหมาะสมจากทันตแพทย์ในท้องถิ่นที่อาศัยอยู่ก่อนซื้อหาฟลูออไรด์มารับประทานนะคะ เพื่อจะได้ประโยชน์จากการทานฟลูออไรด์โดยไม่มีโทษค่ะ

โดย ??? : 2014-07-16 04:43:45 IP : 110.171.36.24

ความคิดเห็นที่ 8 Merci pour ce super livraison rapide ! Tachi
โดย Tachi [bsrfyhcag@gmail.com] : 2014-09-26 05:52:11 IP : 183.252.52.228

ข้อความ *
รูปภาพ (รูปต้องมีขนาดไม่เกิน 50 k)
ผู้แสดงความคิดเห็น *
Email
 
New Code
Verify Code *

Your Data :
IP : 18.188.110.150
Internet form : ec2-18-188-110-150.us-east-2.compute.amazonaws.com
Date : 2024-11-23 8:21:33