กระทู้ความคิดเห็น

ผู้แสดงความคิดเห็น 0 คน
ผู้เข้าชม 1070 คน

???????????????????????????? 0-1 ??
ธรรมชาติการขับถ่ายของทารกวัย 0-1 ปี

เด็กทารกที่กินนมแม่มักมีระบบย่อยอาหารที่ดี ย่อยง่าย ถ่ายคล่อง โดยเฉพาะน้ำนมสีเหลือง (Colostrum) หรือหัวน้ำนม ที่เป็นสุดยอดของอาหารสำหรับทารกแรกเกิดนั้น จะมากไปด้วยภูมิคุ้มกัน วิตามิน เกลือแร่ โปรตีน ไขมัน ซึ่งทั้งหมดล้วนไปช่วยให้ลูกเติบโตแข็งแรงช่วยขับ “ขี้เทา” ซึ่งเป็นอึชุดแรกของลูกที่มีลักษณะเหนียว สีเขียวเข้มเกือบดำที่จะอึออกมาใน 2-3 วันแรก แถมยังช่วยจับสารตัวเหลือง บิลิลูบิน (Billirubin) ออกมาทิ้งพร้อมกับอึกองโต ป้องกันไม่ให้ลูกตัวเหลืองเกินไปอีกด้วย

การขับถ่ายของทารก

อึ 7 วันแรกของทารก
อึของเด็กแรกเกิดมักบอกสุขภาพและความสมบูรณ์ของเด็กได้ เช่น เด็กที่คลอดครบกำหนดก็มักจะแข็งแรงขับขี้เทาออกมาได้ตามเวลา และกินเก่งเพราะถ่ายออกไปมาก น้ำนมแม่เลยพามีมากตามการดูดของลูก เข้าข่ายแข็งแรงมาก กินมาก ถ่ายมาก

เมื่อลูกอายุประมาณ 1 เดือนจึงจะเริ่มอึเพียงวันละ 1 ครั้ง แต่ทารกหลายคนที่กินนมแม่อาจจะมีบางคนที่อึแบบวันเว้นวัน ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติแต่อาจจะทำให้ลูกแน่อนท้อง ไม่สลบายตัว คุณแม่อาจจะต้องมีเครื่องมือช่วยให้จำวันที่ลูกอึหรือระยะความถี่ห่างการอึของลูกได้ อาจทำเป็นตารางจดบันทึกไว้ง่ายๆ ด้วยการทำสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายอะไรก็ได้

สีอึบอกอะไร

อึสีเหลืองปนเขียว – มักเกิดจากการดูดนมที่ท่าดูดทำให้หัวนมยืดไม่ดี ทำให้กลไกน้ำนมพุ่งออกมาน้อย (Let down’s reflex) ลองแก้ไขท่าดูดโดยให้ลูกอมลึกถึงลานนม จะช่วยให้น้ำนมพุ่งดีขึ้น
อึมีมูกปน – อาจมาจากน้ำมูกที่ลูกกลืนลงไปปนออกมากับอึ
อึมีเลือดปน – ลูกอาจมีแผลที่ร่องก้น หรือเกิดจากอาการแพ้โปรตีนในอาหารของแม่หรือลูก หรืออาจมีเลือดออกจากลำไส้ อึลักษณะนี้คุณแม่ต้องดูให้ละเอียดหน่อย
อึมีน้ำปนมาก – มักพบในกรณีที่คุณแม่กินยาปฏิชีวนะ จึงทำให้ลูกอาจมีอาการถ่ายเหลว

 ข้อควรสังเกต

เด็กเกิดครบกำหนดถ้าผ่านไป 4-5 วันแล้วยังถ่ายเป็นขี้เทา แสดงว่ากินนมแม่ไม่เพียงพอ หรือกินไม่ถูกวิธีทำให้ไม่ได้น้ำนม ต้องมีการแก้ไขเรื่องวิธีการดูดนมแม่ ด้วยการจัดท่า และการดูดกลืนน้ำนม
การที่อึลูกเป็นสีเขียวมักเกิดจากการได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ หรือเกิดจากอาหารที่แม่กินเข้าไป ซึ่งรู้อย่างนี้แล้วคุณแม่คงต้องระมัดระวังและเลือกรับประทานสักหน่อย
เด็กที่กินนมแม่อาหารทั้งหมดจะถูกนำไปใช้ และเหลือเป็นกากอาหารเพื่อขับถ่ายเพียงเล็กน้อย ลูกจึงไม่จำเป็นต้องถ่ายเป็นประจำทุกวัน บางคนอาจถ่ายแค่ 2-3 ครั้งในสัปดาห์ ถ้าลูกกินอิ่มนอนหลับ ร่าเริงดี ไม่งอแงเพราะอึดอัด น้ำหนักเพิ่มขึ้น ถ่ายปัสสาวะมากกว่า 6-8 ครั้งในหนึ่งวันแสดงว่าทุกอย่างเป็นปกติดี คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องกังวล

ปัญหาท้องผูกในทารก

ช่วงอายุที่มักจะท้องผูกมากที่สุดคือประมาณ 6 เดือน – 4 ปี ซึ่งสาเหตุแตกต่างกันไป และการท้องผูกมักเกิดจากปัจจัยหลายอย่างร่วมกัน เช่น เด็กบางคนถูกฝึกให้ขับถ่ายเร็วเกินไป แต่ยังไม่พร้อมที่จะขับถ่ายเอง ไม่ชอบกินผักและผลไม้ และที่พบบ่อยในช่วงวัยอนุบาลคือห่วงเล่นและกลั้นอุจจาระเป็นนิสัย เป็นต้น แต่ก็ยังมีเด็กอีกส่วนน้อยที่มีอาการท้องผูกจากโรคร้ายแรง เช่น โรคลำไส้ใหญ่ส่วนปลายไม่มีปมประสาท โรคของไขสันหลัง โรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อย เป็นต้น

ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งใน 1 สัปดาห์ หรืออาจถ่ายทุกวันแต่ต้องเบ่งมาก
 อุจจาระแข็ง อาจจะเป็นก้อนเล็กๆ คล้ายลูกกระสุนปืนอัดลม หรือก้อนใหญ่ๆ ที่ทำให้มีอาการเจ็บปวดมากเวลาเบ่งถ่าย
 บางครั้งจะมีเลือดติดออกมาด้วยเพราะรูทวารฉีกขาด ทำให้ลูกจะรู้สึกกลัวการถ่ายอุจจาระจึงพยายามกลั้นเอาไว้ จนทำให้อุจจาระยิ่งมีขนาดใหญ่และแข็งมากขึ้นเรื่อยๆ และเพิ่มความเจ็บปวดในการขับถ่ายแต่ละครั้ง

วิธีแก้ปัญหาทารกท้องผูก

ให้ลูกดื่มน้ำให้เพียงพอ เช่น ลูกอายุน้อยกว่า 6 เดือนควรดื่มน้ำประมาณวันละ 4 ออนซ์ การผสมนมต้องเติมน้ำให้ถูกอัตราส่วน แต่ถ้าลูกอายุมากกว่า 6 เดือนอาจให้น้ำผลไม้ในปริมาณที่พอเหมาะ
 ให้ลูกมีเวลานั่งถ่ายประมาณ 10-15 นาที ซึ่งช่วงเวลาที่ดีและเหมาะสำหรับนั่งถ่ายคือ หลังกินอาหารเสร็จสักพัก เพราะหลังกินอาหารจะมีการกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่บีบตัว และอาจช่วยให้ก้อนอุจจาระเคลื่อนผ่านออกมาง่ายขึ้น เวลานั่งถ่ายไม่ควรให้ลูกเล่นของเล่น เพราะเขาจะไม่ตั้งใจหรือพยายามเบ่งถ่ายอุจจาระ

โดย ??? : 2014-07-16 04:34:33 IP : 110.171.36.24

ข้อความ *
รูปภาพ (รูปต้องมีขนาดไม่เกิน 50 k)
ผู้แสดงความคิดเห็น *
Email
 
New Code
Verify Code *

Your Data :
IP : 52.15.37.74
Internet form : ec2-52-15-37-74.us-east-2.compute.amazonaws.com
Date : 2024-11-23 8:16:00