กระทู้ความคิดเห็น
ผู้แสดงความคิดเห็น 0 คน
|
???????????????????????????? |
ปัญหาเรื่องการนอนของเด็กเล็ก ทำไมลูกถึงตื่นนอนตอนกลางคืนบ่อยๆ ? สาเหตุที่ลูกต้องตื่นตอนกลางคืน คือ 1.ทารกแรกเกิดต้องการพลังงานและสาร อาหารสูงเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตของร่างกาย ถ้าสังเกตให้ดีน้ำหนักแรกเกิดของลูกปกติเท่ากับ 3 กิโลกรัม แล้วน้ำหนักตัวจะเพิ่มเป็น 2 เท่า คือ 6 กิโลกรัม เมื่อลูกอายุ 4-6 เดือน เพราะฉะนั้นลูกแรกเกิดจึงต้องตื่นกลางคืนเพื่อกินนมให้ได้พลังงานและสาร อาหารเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย 2.ปกติการนอนของคนเรานั้นจะแบ่งเป็น 2 แบบ คือ 1.ช่วงนอนหลับสนิท (Deep sleep) เป็นช่วงที่นอนหลับสนิท ไม่มีการขยับตัว ไม่ฝัน และลูกตาเคลื่อนไหวช้าๆ 2.ช่วงนอนหลับไม่สนิท (Active sleep) เป็นช่วงที่มีการขยับตัว คว่ำ หงาย ฝัน และลูกตาเคลื่อนไหวรวดเร็ว ซึ่งตามปกติผู้ใหญ่จะนอนหลับสนิทเป็นส่วนมาก ในขณะที่เด็กทารกจะมีการนอนสลับไปมาระหว่างช่วงนอนหลับสนิทกับช่วงหลับไม่ สนิท เด็กจึงมีการขยับตัวดิ้นส่งเสียงในบางครั้งแต่ก็ไม่ตื่น ซึ่งอาจจะทำให้คุณพ่อคุณแม่เข้าใจผิดคิดว่าลูกตื่น คุณพ่อ คุณแม่ จึงไม่ควรเข้าไปอุ้มหรือให้กินนมในช่วงนี้ เพราะอาจทำให้ลูกตื่นจนกลายเป็นนิสัยต้องตื่นมากินนมได้ ลูกต้องนอนนานกี่ชั่วโมงจึงจะพอ ? ปกติเด็กแต่ละคนจะมีลักษณะการนอน ชั่วโมงและระยะเวลาการนอนหลับแตกต่างกันตามธรรมชาติ ตามนาฬิกาในสมอง (Biological clock) และตามวัยของเด็กแต่ละคน เด็กแต่ละคนจึงมีลักษณะและระยะเวลาการนอนหลับที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว จึงไม่ควรนำไปเปรียบเทียบกับเด็กอื่น ทารกแรกเกิดจะใช้เวลานอนมาก พออายุมากขึ้นจะนอนน้อยลง ดังนี้ ทารกแรกเกิดวัย 0-2 เดือน มักใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการนอนสลับการ ตื่น ดูดนม ขับถ่าย และเปลี่ยนผ้าอ้อม โดยจะนอนหลับวันละประมาณ 10.5-18 ชั่วโมง ตื่นประมาณ 1-3 ชั่วโมง แต่มีลักษณะการนอน การตื่นที่ไม่แน่นอน อาจนอนหลับเพียงไม่กี่นาทีจนถึงหลายชั่วโมง ช่วงที่หลับอาจดูเหมือนว่าลูกหลับไม่สนิท เช่น มีการบิดตัว ยิ้ม ดูดปาก ขยับแขนขา ขยับตัว ไปมา ข้อแนะนำในการพาลูกวัยทารกเข้านอน -ควรสังเกตลักษณะการนอนของลูก และลักษณะที่ลูกแสดงว่าง่วงนอน -พาลูกเข้านอนเมื่อลูกรู้สึกง่วง ไม่ใช่วางนอนเมื่อลูกหลับแล้ว เพราะจะเป็นการให้ลูกได้เรียนรู้และนอนหลับได้รวดเร็วด้วยตนเอง -เวลานอนต้องให้หน้าและศีรษะลูกโล่ง ไม่มีผ้าห่ม หมอน ตุ๊กตา หรือของเล่น มาปิดหน้าและจมูกลูกจนทำให้ลูกหายใจไม่สะดวก -พยายามส่งเสริมให้ลูกนอนหลับเวลากลางคืน ทารกอายุ 3-11 เดือน เมื่ออายุ 6-9 เดือน เด็กมักจะไม่ตื่นมาดูดนมตอนกลางคืน จะหลับตลอดคืน โดยจะนอน 9-12 ชั่วโมงในเวลากลางคืน และงีบหลับช่วงสั้นๆ ประมาณครั้งละ 30 นาที ถึง 2 ชั่วโมง วันละ 1-4 ครั้งในเวลากลางวัน และจะนอนน้อยลงเมื่ออายุ 1 ปี ข้อแนะนำในการพาลูกวัย 3-11 เดือนเข้านอน -พยายามฝึกให้ลูกนอนเป็นเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน -ควรทำให้เวลานอนเป็นเวลาที่เด็กรู้สึกสงบ มีความสุข และรู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย -ควรจัดสภาพแวดล้อมในห้องนอนให้เหมาะสมกับการนอน เช่น ไฟสลัว เงียบสงบ ไม่มีเสียงดังฯ -ควรพาลูกไปนอนเวลาที่ลูกรู้สึกง่วงต้องการนอน ไม่เลยเวลานอน และฝึกลูกให้หลับได้ด้วยตนเอง เด็กวัยเตาะแตะอายุ 1-3 ปี วัยนี้จะนอนหลับประมาณ 12-14 ชั่วโมง เมื่ออายุประมาณ 1 ½ ปี จะนอนงีบหลับกลางวัน ลดลงเหลือเพียง 1 ครั้ง นานประมาณ 1-3 ชั่วโมงต่อวัน และไม่ควรให้ลูกนอนหลับเวลากลางวันใกล้กับเวลานอนกลางคืนมากจนเกินไป เพราะจะทำให้ลูกเข้านอนช้าเวลากลางคืน เด็กวัยนี้อาจจะมีปัญหาการนอน เนื่องจากเป็นวัยที่เริ่มอยากทำอะไรด้วยตนเอง มีพัฒนาการทุกด้าน สามารถเดิน วิ่ง พูดคุย และเข้าสังคมได้ ทำให้เด็กต้องการแสดงออกถึงความสามารถของตนเอง อยากลุกจากเตียง และอาจกลัวการแยกจากพ่อแม่เวลานอน ข้อแนะนำในการพาลูกวัย 1-3 ปีเข้านอน -ควรฝึกให้ลูกนอนกลางคืนตามเวลาอย่างสม่ำเสมอ -ควรจัดสภาพแวดล้อมในห้องนอนให้เหมาะสมและคงเดิมทุกคืน -ในเด็กบางรายที่มีปัญหากลัวการแยกจาก พ่อแม่เวลานอน สามารถให้ลูกมีตุ๊กตา หรือผ้าห่มติดตัวเวลานอนเพื่อให้รู้สึกอบอุ่น ปลอดภัย และไม่กลัวได้ เมื่อเด็กโตขึ้นจะมีระยะเวลาของการนอน หลับสนิทมากขึ้นและหลับได้นานขึ้นคล้ายกับผู้ใหญ่ เช่นเด็กวัยก่อนเรียนอายุ 3-5 ปีจะนอนเวลากลางคืน 11-13 ชั่วโมง และไม่นอนงีบหลับเวลากลางวันหลังอายุ 5 ปีไปแล้ว แต่ก็ยังมีระยะเวลาของการนอนหลับสนิทน้อยกว่าผู้ใหญ่ จึงทำให้เด็กตื่นนอนง่ายและกลับไปหลับยาก เช่น ตื่นกลางดึกมาเล่นแล้วไม่ยอมนอนต่อ จากที่กล่าวมาแล้ว จะเห็นได้ว่าเด็กแต่ละคนจะมีลักษณะและระยะเวลาการนอนที่แตกต่างกัน และมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว และลักษณะและระยะเวลาของการนอนของเด็กปกติจะค่อนข้างกว้าง จึงไม่ควรนำลักษณะและระยะเวลาการนอนของลูกไปเปรียบเทียบกับเด็กอื่น และโดยปกติแล้วถ้าลูกรู้สึกง่วง นอนไม่พอ ลูกก็จะหลับไปเอง ดังที่เราเคยเห็นเด็กหลายคนหลับคาชามข้าว หรือขณะนั่งเล่น พูดคุยอยู่ก็หลับไปคล้ายกับผู้ใหญ่ที่ง่วงนอนมากแล้วหลับในขณะขับรถ ซึ่งโดยปกติเราจะสามารถสังเกตได้ว่า เวลาลูกง่วงนอนมากๆก็มักจะเล่นน้อยลง ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ตาปรือ หรืออาจดูตาลอย หรือที่เราเรียกกันเล่นๆ ว่าตาไร้ความรู้สึก หมดสภาพ เอามือขยี้ตา หาว หงุดหงิด และร้องกวน ก็ควรถึงเวลาพาลูกเข้านอน ทำไมลูกจึงไม่ยอมนอน ? สาเหตุที่ทำให้ลูกไม่ยอมนอน นอนยาก นอนไม่นาน ตื่นบ่อยกว่าปกติ คือ 1.นอนกลางวันมากเกินไป จนทำให้ไม่รู้สึกง่วงตอนกลางคืน 2.เจ็บป่วย หรือไม่สบายตัว เช่น เป็นไข้ หวัด เจ็บป่วย เจ็บปวด ปวดท้อง หรือรู้สึกไม่สบายตัว เช่น อากาศร้อนอบอ้าวหรือหนาวเกินไป เปียกแฉะบริเวณตัวหรือผ้าอ้อมฯ 3.หิว ซึ่งถ้าหากลูกไม่ได้กินอะไรมานานกว่า 3-4 ชั่วโมงแล้ว ควรลองให้ลูกดูดนมหรือกินอาหาร 4.มีสิ่งรบกวน เช่น แสงไฟ เสียงดังจากคนคุยกัน ดูโทรทัศน์ หรือเสียงเด็กคนอื่นกำลังเล่นกันฯ 5.ลูกกำลังวิตกกังวลหรือกลัว เช่น มีน้องใหม่ ถูกขู่ว่าจะทิ้ง พ่อแม่ไม่รัก เล่นโลดโผนหรือดูทีวีที่ทำให้ตื่นเต้น ตกใจ กลัวก่อนเข้านอน 6.ย้ายที่นอนหรือแปลกที่ ทำให้ไม่คุ้นเคย กังวลจนนอนไม่หลับ 7.เล่น หรือออกกำลังน้อยเกินไปทำให้รู้สึกง่วงน้อยและหลับยากขึ้นกว่าปกติ 8.เลยเวลานอน ซึ่งเด็กก็คล้ายกับผู้ใหญ่ที่ถ้าหากเล่นหรือทำอะไรเพลินจนเลยเวลานอนก็จะทำ ให้ไม่รู้สึกง่วงและนอนไม่หลับได้ เพราะฉะนั้นเมื่อถึงเวลานอนก็ควรพาลูกเข้านอน ซึ่งถ้าหากเราสังเกตหาสาเหตุและแก้ไขสาเหตุที่ทำให้ลูกไม่นอนนั้นได้ ก็จะช่วยให้ลูกหลับได้ดีขึ้น ให้ลูกนอนท่าไหนดี? 1.ท่านอนคว่ำ มีข้อดีคือ ศีรษะลูกจะโหนกนูน ดูสวย และลูกจะสะดุ้ง ผวาน้อยกว่าการนอนหงาย เนื่องจากตัว มือ เท้าของลูกกดทับลงไปที่นอนทำให้ลูกผวาน้อย แต่ก็มีข้อเสียคือ ทำให้สังเกตดูหน้าตา ลักษณะทั่วไป และการหายใจของลูกลำบาก ทำให้ลูกมีโอกาสเป็นโรค SIDS (Sudden Infant Death Syndrome) หรือ โรคไหลตายในทารก สูงขึ้นกว่าเด็กนอนหงาย โรค SIDS เป็นสาเหตุที่ทำให้ทารกอายุระหว่าง 1 เดือนถึง 1 ปี เสียชีวิต โดยทารกที่เสียชีวิตส่วนใหญ่มักมีอายุต่ำกว่า 6 เดือน พบมากในช่วงอายุ 2-4 เดือน มักพบในทารกของประเทศตะวันตก เช่น อเมริกา ยุโรป ออสเตรเลียฯ โดยจะเสียชีวิตในฤดูหนาวมากกว่าฤดูร้อน สำหรับเด็กไทยนั้นยังไม่ทราบสถิติที่แท้จริง โดยส่วนตัวของหมอเองยังไม่เคยพบเด็กที่เสียชีวิตจากโรคนี้เลย ซึ่งขณะนี้ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของโรคนี้ เพียงแต่ทารกนอนคว่ำ พ่อแม่สูบบุหรี่ ไม่ได้กินนมแม่ น้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย คลอดก่อนกำหนด จะมีโอกาสเสี่ยงสูงของการเกิดโรค SIDS ได้ 2.ท่านอนหงาย มีข้อดีคือ ทำให้มองเห็นหน้า ตา ลักษณะทั่วไป การหายใจของลูกได้ดี ลดความเสี่ยงการเกิดโรค SIDS แต่มีข้อเสียคือ อาจทำให้ศีรษะลูกแบน ลูกสะดุ้ง ผวาง่ายกว่าท่านอนคว่ำ 3.ท่านอนตะแคง เป็นการดัดแปลงท่านอนของลูกให้อยู่กึ่งกลางระหว่างนอนคว่ำและหงาย ก็อาจทำให้สังเกตหน้าตา ท่าทางของลูกดีขึ้นกว่านอนคว่ำ ศีรษะโหนกนูนเหมือนนอนคว่ำ แต่ก็มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค SIDS ได้เช่นเดียวกับการนอนคว่ำ
|
|
โดย nil : 2014-07-01 05:23:49 IP : 110.171.36.24 |
|
|||||