กระทู้ความคิดเห็น
ผู้แสดงความคิดเห็น 0 คน
|
????? ???????????? ??? ????????? |
อาการ เด็กขี้อิจฉา และ วิธีแก้ไข ความอิจฉาและการแข่งขัน เป็นความรู้สึกรุนแรงเกิดได้กับทุกๆ คน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่สำหรับเด็กนั้นแกไม่สบายใจ ขุ่นข้อง และไม่เข้าใจพร้อมๆกัน แกอาจรู้สึกเจ็บปวด ในขณะเดียวกันคุณพ่อคุณแม่ ควรหาหนทางทำให้เกิดผลเสียต่อลูกน้อยที่สุด แต่แกจะต้องเรียนรู้ เพราะในชีวิตข้างหน้า แกจะต้องประสบกับการแข่งขันและการอิจฉาจากสังคม ลูกอิจฉาน้อง เมื่อลูกมีน้องใหม่กลับจากโรงพยาบาล ลูกมักจะมีปฏิกิริยาถอยหลังกลับเป็นเด็กเล็ก ๆ เช่น อายุ 3 ปี แต่กลับพูดไม่ชัดเหมือนทารก เคยรับประทานอาหารด้วยช้อนเองก็ต้องให้คุณแม่ป้อน กลับมาปัสสาวะรดที่นอนอีก อึรดกางเกงในอีกทั้งๆที่ทำได้เรียบร้อยมาก่อน บางคนดื่มนมจากแก้ว กลับไปดื่มนมจากวดอีกเหมือนน้อง จุดประสงค์ก็คือ เขาต้องการให้คุณรักเขามากๆ รักเขาคนเดียว เหมือนก่อนมีน้องใหม่เห็นเขาเป็นเด็กทารกอีก คุณไม่ควรเฆี่ยนตีเขา เป็นมิตรกับเขา เล่นและอยู่กับลูกคนนี้มากหน่อยๆ ค่อยๆ พูดว่าการดูดขวดนมไม่เห็นดีเลย มีแต่เด็กเล็กๆเขาทำกัน เพราะเขาไม่เก่ง ลูกของแม่เก่งสารพัดแล้ว ทานข้าวเองเก่งกว่าน้องมาก นมก็ดื่มเอง น้องไม่เก่งเลย พอเขาทำอะไรได้เองก็กล่าวชม และนำไปชมต่อหน้าคนอื่นๆ เขาจะภูมิใจและอาจจะช่วยคุณแม่ให้นมน้องเสียด้วย ให้หนูเป็นผู้ช่วยคุณแม่เลี้ยงน้อง เด็กบางคนหาทางออกจากความรู้สึกเจ็บช้ำที่มีคู่แข่ง ตัวเล็กๆ น่าเอ็นดู โดยการแสดงตนวาเขาไม่ใช่เด็กเล็กๆ แล้วน่า เขาไม่อยากจะลดตัวลงไปแข่งกับน้องหรอกจ๊ะ แต่เขาเป็นบุคคลที่สามที่สำคัญพอดู คือเป็นผู้ช่วยคุณแม่เลี้ยงน้องไงล่ะ ผู้ช่วยคนนี้เก่งมากๆ อายุแค่ 3 ขวบ หยิบขวดนมได้ หยิบผ้าอ้อม ใช้งานได้หลายอย่างจริง เวลาคุณแม่เข้าห้องน้ำหรือเข้าครัว เขาจะนั่งเฝ้าทำทาเคร่งขรึมราวกับผู้ใหญ่เทียว เด็กเล็กอยากจะอุ้มน้อง คุณแม่กลัวทำหลุดมือ แต่ถ้าลูกนั่งบนพื้นมีพรมหรือมีผ้านุ่มๆ ก็ให้อุ้มได้ เพื่อเขาจะได้สมใจ แต่ควรจะอยู่ใกล้ๆ เพราะน้องก็หนักพอควร ลูกคนที่หนึ่งจะเกิดอาการมากเมื่อลูกคนที่สองเกิดมา เพราะเขาเคยเป็นหวานใจทุกคนในบ้านมาก่อน ลูกคนที่สองไม่ค่อยรู้สึกแบบคนพี่แล้ว เวลาคุณแม่มีลูกคนที่สาม เขายังคิดว่าเขายังเป็นเด็กอยู่ คุณควรเตรียมการล่วงหน้า ขณะที่คุณแม่ตังครรภ์ ควรจะบอกให้ลูกทราบว่าอีกไม่นาน ลูกจะมีน้องน่ารักเหมือนตุ๊กตา ดีกว่าตุ๊กตาเพราะน้องยิ้มได้ ดูดนมได้ น้องรักหนูและหนูต้องช่วยแม่เลี้ยงนะ อาจจะให้ลูกลูบคลำท้อง บอกว่าน้องของหนูอยู่ในนี้นะจ๊ะ การเตรียมการรับน้องใหม่ค่อยๆ ทำค่อยเป็นค่อยไป อย่าเปลี่ยนแปลงเร็วๆ เด็กตั้งตัวไม่ทัน ถ้าจะเตรียมห้องให้น้องก็ค่อยๆ ทำ ถ้าคิดจะย้ายเขาไปนอน อีกห้องควรทำ 4-5 เดือนก่อนคลอด บอกว่าลูกโตแล้ว น้องยังเล็กร้อง งอแงลูกจะหนวกหู แม่จะจัดห้องให้ใหม่ดูดีกว่าห้องเก่าเยอะแยะ อย่าให้เขาเกิดความรู้สึกว่า เพราะน้องเชียวมาไล่ที่เรา เราไม่มีที่นอน เมื่อคุณแม่พาน้องกลับบ้าน คุณอย่าเห่อน้องใหม่ จนลืมพี่ที่น่าสงสารเมื่อมาถึงบ้าน ควรตรงไปทักทายเขาก่อน อ้ามกอดและพามาดูน้อง อย่าพูดถึงน้องบ่อยๆ หรือพูดตลอดเวลา เวลาคุณพ่อกลับจากทำงาน ควรมาทักทายเขาก่อน ถามหาแต่น้องใหม่ ถามว่า ตาสองสบายดีหรือ แล้วไม่ถามลูกหนึ่งของพ่อเลย น่าร้องไห้นัก คุณย่าคุณยาย ก็ร้องหาหลานคนใหม่ ใครๆก็ถามหาแต่หลานคนใหม่ เวลามีของขวัญให้ลูกเล็กควรเตรียมไว้ให้ลูกคนแรก ให้เขาก่อนด้วยซ้ำ ไม่ต้องเป็นของดี ของแพงอะไร เขาจะดีใจมาก ที่เขายังคงความสำคัญอยู่เหมือนเดิม เด็กเล็กๆ มีทั้งความรักน้องและความอิจฉาผสมอยู่ตลอดเวลา การเล่นตุ๊กตา จะช่วยได้บ้าง เวลาแม่เลี้ยงลูก ให้ลูกเลี้ยงตุ๊กตาไป คุณแม่ชวนแกเล่นไปพร้อมๆ กัน แกจะสนุกมากคะ ความอิจฉาแสดงออกหลายแบบ เด็กๆมีการแสดงออกแปลกๆ - บางคนดุโมโหร้าย ตั้งแต่น้องกลับมา ฟาดตุ๊กตาไป หลายตัว สมมติเป็นน้องที่แย่งความรักไป - บางคนดูเฉยๆ ไม่ตื่นเต้นกับน้อง เรียกว่าเก็บความรู้สึกเก่ง พอเวลาผ่านไป 3-4 วัน ก็บอกคุณแม่ว่า แม่เอาน้องไปคืนโรงพยาบาลเถอะ (คงคิดว่าไปซื้อมากเหมือนตุ๊กตา) - บางคนโกรธคุณแม่ แกล้งยืนฉี่กลางห้อง - บางคนติดหัวแม่มือ เดินเกาะคุณแม่ทั้งวัน - บางคนบ่นว่า น้องไม่เห็นน่ารักเลย หน้าเหมือนหมา - บางคนรักน้องจูบน้องจนคุณแม่ชื่นใจ แต่พอญาติมาเยี่ยม มีของมาฝากน้องเยอะแยะ ของตัวเองไม่มี เลยแบบหยิกน้องหมับเข้าให้ - บางคนรักน้องมาตลอด จนวันหนึ่งน้องแย่งของเล่นเลยเอาของเล่นโขกหัวเสียเลย - คุณแม่บางคนภูมิใจมาก ดูตาเอกของเดี๊ยนซิค่ะ รักน้องจูบน้อง โอ๋เวลาร้องทุกครั้งเลยค่ะ หมอคิดว่า เป็นความจริงแน่นอนเพราะความรู้สึกต่อน้องใหม่มีทั้งรักทั้งชังและอิจฉาคลุกเคล้ากันไป เราต้องยอมรับสภาพความเป็นจริง ว่าจิตใจเด็กมีความริษยาเป็นปกติ อย่าทำโทษแต่พยายามชักนำไปในทางที่ดี คุณแม่จะแก้ไข โรคขี้อิจฉา ชนิดต่างๆ อย่างไรดี เมื่อคุณเห็นลูกคนโตรังแกน้อง คุณจะรู้สึกโกรธและตกใจ จึงมักจะเอ็ดตะโรให้ได้อาย แต่มีผลเสียคือ เขาจะยิ่งเกลียดน้องมากขึ้น เพราะจะรักน้องมากกว่าเขา แม่ขู่จะไม่รัก เขาจึงความแค้นข้างในมากขึ้น ความอิจฉาทวีคูณ ให้ลูกมั่นใจว่า แม่ยังรักลูกอยู่เสมอ ป้องกันลูกก่อน แสดงให้ลูกคนโตเห็นว่าจะมา ทำอันตรายไม่ได้ แต่แม่ก็ยังรักลูกคนโตอยู่น่ะ พอเห็นเขาหน้านิ่วคิ้วขมวดตรงไปเล่นงานน้อง ต้องรีบแย่งอาวุธก่อน บอกว่า ลูกจะทำน้องไม่ได้นะ คุณอาจตรงเข้าอุ้มเขาเลยและพาเขาไปชวนคุย เรื่องอื่นเสีย เขาจะเข้าใจว่า แม่ทราบดีว่าเขา โกรธน้อง แม่ยังรักเขาอยู่ ถ้าเขาไม่ตีน้อง เด็กบางคนเอาขยะขี้ผงมาโรย เต็มห้อง เพื่อแกล้งคุณแม่ที่รักน้อง แม่อาจจะโกรธ แต่ถ้ารู้สึกถึงหัวอกอันขมขื่นของเขา แม่อาจจะไม่โกรธและอาจจะพยายามข่มใจเอาไว้ สงสารลูกบ้างถ้าเด็กมีอาการมากเหลือเกิน คุณทนไม่ไหว อาจจะปรึกษาจิตแพทย์ จะช่วยได้ค่ะ ถ้าน้องคนเล็กโตพอจะแย่งของเล่นของพี่ได้ คุณควรจะให้เขามีห้องแยกเป็นสัดส่วน มีหีบใส่ของเล่น โดยเฉพาะของเขา น้องๆเปิดไม่ได้ บางครั้งคุณขอร้องให้พี่ยกของเล่นเก่าๆ ให้น้อง แต่ถ้าเป็นของที่เขาหวง(แม้เขาจะไม่ได้ใช้แล้ว) ก็อย่าบังคับ เพราะเขาจะรู้สึกไม่พอใจและเห็นแก่ตัวมากขึ้น รอให้เขามีความรู้สึกอยากให้น้องเอง เขาเต็มใจให้เองจะดีกว่า บางคนมีชุดสุดสวย คุณแม่อยากให้น้องได้ใส่ เพราะคุณพี่ก็ใส่ไม่ได้ แต่เขาหวงเขาไม่ยอม เอาไปซุกไปซ่อน จนหายไป สงสัยจะมีขโมยซ้อนรอยเอาไปเลยจริงๆ การอิจฉาน้องจะเกิดขึ้นกับเด็กในวัยต่ำกว่า 5 ปี เพราะวัยนี้สนใจอยู่แต่พ่อแม่ และครอบครัว ไม่ค่อยจะสนใจเพื่อนๆ นัก เด็กเกิน 5 ปี จะสนใจ โรงเรียน สนใจคุณครู และเพื่อนมากขึ้น การอิจฉาน้องลดลง แต่ยังมีมาตลอดจนกระทั่งโต บางคนอายุ 10ปี กว่ายังหวงแม่และอิจฉาน้องอยู่เสมอ คุณพ่อคุณแม่บางคนสงสารลูกคนแรกมาก ยิ่งเห็นอิจฉาน้องยิ่งมีความรู้สักไม่สบายใจ พูดว่า เราไม่น่ามีลูกอีกคนเลย ความจริงมีคนเดียวก็พอ ความรู้สึกนี้ไม่ค่อยจะดีนักต่อตัวคุณเองและลูกๆ ลูกคนโตนี้จะต้องเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เขาจะต้องหัดให้มีความอดทนต่อความรู้สึกต่างๆ เสียตั้งแต่เด็กๆ และน้องใหม่ก็เป็นสิ่งที่เขาจะต้องรู้จักอยู่รวมกันอย่างสันติสุข ลูกเล็กต้องการความสนใจเหมือนกัน(หนูก็มีหัวใจนะ) เรามักจะเป็นห่วงลูกคนแรกมากกว่าลูกอ่อนที่เพิ่งจะเกิด เพราะคิดว่าคนโตเขามีหัวจิตหัวใจนะ เขาน้อยใจแล้ว ลูกเกิดใหม่ๆจะรู้เรื่องอะไรกัน ลูกอ่อนก็มีหัวใจเหมือนกันนะจะบอกให้ แม้ว่าส่วนใหญ่หนูจะนอนหลับเสียเป็นส่วนมาก แต่หนูก็ต้องการความรักความอบอุ่น จากคุณพ่อคุณแม่ และคุณพี่ด้วยค่ะ โปรดเห็นใจหนูบ้าง อิจฉาเด็กอื่นๆ เด็กๆ อาจอิจฉาเด็กอื่นๆ เช่น ลูกพี่ลูกน้อง ญาติกัน เด็กทุกคนจะอบอุ่นในครอบครัวที่รู้สึกว่าพ่อแม่รักเขา ไม่ว่าเขาจะเป็นหญิงหรือชาย เขาจะฉลาดหรือทึ่ม เขาจะน่ารักหรือไม่ก็ตาม ถ้าคุณแม่เกิดไปแสดงความสนใจเด็กอื่นๆ มากกว่าตัวเขาจะเกิดความรู้สึกอิจฉาเช่นกัน ครอบครับที่มีลูกหลายๆ คน เวลาซื้อของ ควรจะซื้อคล้ายๆกันมากที่สุด มิฉะนั้นจะมีการเปรียบเทียบของเล่นหรือของขวัญกัน มักต่อว่า ของของหนูไม่ดีเลย ของน้องดีกว่าตั้งแยะ เวลามีเรื่องทะเลาะกันก็หวังว่าจะชนะใจคุณพ่อคุณแม่ อยากเป็นคนที่ถูกต้องในสายตาพ่อแม่ ดังนั้น พ่อแม่บางคู่เบื่อจะต้องเป็นกรรมการตัดสินแยกมวยบ่อยๆ เพราะมีลูกชายตั้ง 5คน เลยบอกว่าต่อไปนี้ถ้าลูกทะเลาะกัน ลูกจะถูกตีเท่าๆกันทุกครั้งนะ ปรากฏว่าได้ผลพอสมควร เพราะเจ็บตัวพอกัน แต่หมอก็ไม่แนะนำว่าต้องแบบนี้ ควรพูดกันดีๆ ดูก่อนเสมอ อย่าถึงกับต้องดีเลย
|
|
โดย ??? : 2014-03-18 05:17:56 IP : 110.171.183.127 |
|
|||||