กระทู้ความคิดเห็น

ผู้แสดงความคิดเห็น 0 คน
ผู้เข้าชม 1521 คน

?????????????????????? 0-1 ??
การฉีดวัคซีนในเด็กทารก 0-1 ปี

แม้ว่าวัคซีนจะไม่ใช่ยารักษาโรค แต่วัคซีนก็เป็นเครื่องป้องกันที่ช่วยให้เด็กๆ ปลอดภัยจากโรคร้ายที่มากร้ำกราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กวัยขวบปีแรกที่มีอัตราเสี่ยงสูงในการต่อต้านเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย

วัคซีนจำเป็นสำหรับทารก

หลังจากคุณแม่คลอดน้องแล้ว 1 เดือน จะเป็นเวลาที่คุณหมอนัดเข้ามาอีกครั้งเพื่อตรวจสุขภาพ พร้อมกับตรวจร่างกายว่ามีความผิดปกติใดหรือไม่ โดยทางโรงพยาบาลจะมอบสมุดประจำตัวบันทึกสุขภาพ ซึ่งจะบันทึกวัคซีนต่างๆ ที่จำเป็นต่อลูกด้วย ส่วนใหญ่คุณแม่มักจะพาลูกน้อยไปยังโรงพยาบาลที่ทำการคลอดเพื่อตามประวัติต่อได้สะดวกยิ่งขึ้น

การให้วัคซีนแก่ลูกเป็นการป้องกันโรคติดต่อในเด็ก ที่สามารถทำอันตรายให้พิการหรือเสียชีวิตได้ หน้าที่ของวัคซีนจะกระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกันโรค โดยสร้างขึ้นมาจากไวรัสหรือแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคชนิดนั้นๆ ทำหน้าที่กระตุ้นให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งวัคซีนจำเป็นที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดตามวัยไว้ให้มีดังนี้

แรกเกิด               บีซีจี(ป้องกันวัณโรค) , ตับอักเสบบี ครั้งที่1
1-2 เดือน               ตับอักเสบบี ครั้งที่ 2
2 เดือน               คอตีบ,บาดทะยัก , ไอกรนชนิดปกติ ครั้งที่ 1,หยอดโปลิโอ ครั้งที่ 1
4 เดือน               คอตีบ,บาดทะยัก , ไอกรนชนิดปกติ ครั้งที่ 2,หยอดโปลิโอครั้งที่ 2
6 เดือน               คอตีบ,บาดทะยัก ,ไอกรนชนิดปกติ ครั้งที่ 3,หยอดโปลิโอ ครั้งที่ 3,ตับอักเสบบี ครั้งที่ 3
9-12 เดือน                หัด, หัดเยอรมัน , คางทูม ครั้งที่ 1
12 – 18 เดือน        ไข้สมองอักเสบเจอี ครั้งที่ 1 และ ครั้งที่ 2 (วัคซีนเชื้อตายห่างกัน 1-4 สัปดาห์)
18 เดือน                คอตีบ,บาดทะยัก ,ไอกรนชนิดปกติ ครั้งที่ 4,หยอดโปลิโอ ครั้งที่ 4
2-2 ปีครึ่ง               ไข้สมองอักเสบเจอีชนิดเชื้อตายครั้งที่ 3
4-6 ปี                        คอตีบ,บาดทะยัก ,ไอกรนชนิดปกติ ครั้งที่ 5 ,หยอดโปลิโอ ครั้งที่ 5 ,หัด, หัดเยอรมัน , คางทูม ครั้งที่ 2
ทุก 10 ปี               กระตุ้นคอตีบ-บาดทะยัก สูตรของผู้ใหญ่ไม่ต้องมีไอกรนผสม


วัคซีนเสริมสำหรับทารก
วัคซีนเสริมเป็นวัคซีนที่มีความสำคัญรองลงมาจากวัคซีนหลัก สามารถฉีดหรือไม่ฉีดก็ได้ตามกำลังทรัพย์ ซึ่งมีวัคซีนเสริมที่นิยมดังนี้

วัคซีนป้องกันโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ – หากติดเชื้อโรคนี้แล้วมักมีอาการชัก มีแนวโน้มสูงที่จะส่งผลต่อการเรียนรู้และสมองของเด็ก มักเกิดกับเด็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปี การรับวัคซีนแพทย์จะพิจารณาให้ตามความเหมาะสม
ค่าใช้จ่าย : ราคาเข็มละประมาณ 400-800 บาท ขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิตวัคซีนและช่วงอายุของเด็กที่ต้องการจะได้รับวัคซีนตัวนี้

วัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ A – หากเกิดในเด็กเล็กจะมีอาการคล้ายไข้หวัด มีไข้ น้ำมูก และท้องเสีย อาการสามารถหายเองได้ แต่หากเกิดขึ้นกับเด็กโตที่มีอายุ 6 ปีขึ้นไป จะมีอาการรุนแรง ตัวเหลืองตาเหลือง (ดีซ่าน) ซึ่งอาจจะมีอาการตับวายได้ แนะนำสไหรับเด็กที่ยังไม่เคยมีภูมิคุ้มกันโรคนี้มาก่อน
ค่าใช้จ่าย : ราคาเข็มละประมาณ 700-1,000 บาท ขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิตวัคซีนและช่วงอายุของเด็กที่ต้องการจะได้รับวัคซีนตัวนี้


วัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส – หากเป็นในเด็กเล็กจะสามารถหายเองได้ โดยมีภูมิคุ้มกันและจะไม่กลับมาเป็นอีก อย่างไรก็ตามหากได้รับวัคซีนตั้งแต่เด็กจะสามารถช่วยป้องกันโรคงูสวัสดิ์ได้ด้วย ในประเทศไทยแนะนำให้ฉีดในเด็กที่มีอายุ 10 ปีขึ้นไปและยังไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมากก่อน เพราะอาการในเด็กโตจะรุนแรงกว่าเด็กเล็ก
ค่าใช้จ่าย : ราคาเข็มละประมาณ 1,000 บาท โดยในเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปีจะฉีดเพียง 1 เข็ม แต่ถ้าโตกว่า 13 ปีจะฉีด 2 เข็ม


วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ – แนะนำให้ฉีดในเด็กที่มีภูมิต้านทานต่ำ ติดเชื้อได้ง่ายหรือเป้นโรคหอบหืด ควรฉีดในช่วงฤดูฝนหรือฤดูหนาว
ค่าใช้จ่าย : ราคาเข็มละประมาณ 200 - 300 บาท


วัคซีนเสริมตามวัยสามารถระบุได้ ดังนี้
2 เดือน                   – คอตีบ,บาดทะยัก ,ไอกรนชนิดไร้เซลล์ , โปลิโอชนิดฉีด , ฮิบ ครั้งที่ 1 ,โรต้าหยอด ครั้งที่ 1 , ไอพีดี ครั้งที่ 1(ไม่สามารถรวมกับวัคซีนอื่นได้)
4 เดือน                   – คอตีบ,บาดทะยัก ,ไอกรนชนิดไร้เซลล์ , โปลิโอชนิดฉีด , ฮิบ ครั้งที่ 2 ,โรต้าหยอด ครั้งที่ 2 , ไอพีดี ครั้งที่ 2 (ไม่สามารถรวมกับวัคซีนอื่นได้)
6 เดือน                   – คอตีบ,บาดทะยัก ,ไอกรนชนิดไร้เซลล์ , โปลิโอชนิดฉีด , ฮิบ , ตับอักเสบ ครั้งที่ 3 ,โรต้าหยอด ครั้งที่ 3 (เฉพาะเมื่อใช้ Rotateq) , ไอพีดี ครั้งที่ 3 (ไม่สามารถรวมกับวัคซีนอื่นได้),ไข้หวัดใหญ่ (2 เข็ม ห่างกัน 1-2 เดือน)
12 – 18 เดือน           – ไข้สมองอักเสบเจอีชนิดวัคซีนเชื้อมีชีวิต ครั้งที่ 1 และ ครั้งที่ 2 ห่างกัน 3 เดือน – 1 ปี , ไอพีดี ครั้งที่ 4 (ไม่สามารถรวมกับวัคซีนอื่นได้) , อีสุกอีใส ครั้งที่ 1 , ตับอักเสบเอ ครั้งที่ 1 และ ครั้งที่ 2 (ห่างกัน 6-12 เดือน)
18 เดือน                 – คอตีบ, บาดทะยัก , ไอกรนชนิดไร้เซลล์ , โปลิโอชนิดฉีด , ฮิบ ครั้งที่ 4
2-2 ปีครึ่ง                – ไม่ต้องฉีดไข้สมองอักเสบเจอี ครั้งที่ 3 หากใช้วัคซีนชนิดเชื้อมีชีวิต , หากยังไม่ฉีดอีสุกอีใสหรือตับอักเสบเอให้ฉีดได้เลย
4-6 ปี                      – คอตีบ, บาดทะยัก , ไอกรนชนิดไร้เซลล์ สูตรเด็ก , โปลิโอชนิดฉีด (หรือคอตีบ บาดทะยัก ไอกรนชนิดไร้เซลล์ สูตรผู้ใหญ่ โปลิโอชนิดฉีด) ครั้งที่ 5 , อีสุกอีใส ครั้งที่ 2
11-12 ปี(เด็กหญิง)  – ไวรัสฮิวแมนแปปิลดลมา(เอชพีวี) ครั้งที่ 1, ครั้งที่ 2 และ ครั้งที่ 3 ห่างกัน 1-2 เดือน และ 6 เดือน
ทุก 10 ปี                  – กระตุ้นด้วยคอตีบ, บาดทะยัก , ไอกรนชนิดไร้เซลล์ สูตรผู้ใหญ่ 1 ครั้ง

วัคซีนกรณีพิเศษสำหรับทารก
วัคซีนแบบกรณีพิเศษนี้จะแนะนำให้ฉีดต่อเมื่อเกิดความเสี่ยงแบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งหากเด็กปกติไม่จำเป็นต้องฉีดก็ได้

วัคซีนพิษสุนัขบ้า จะฉีดหลังถูกสัตว์กัด ฉีด 5 ครั้ง โดยเริ่มจากวันแรกที่ถูกกัด และต่อด้วยวันที่ 3, 7, 14 , 28 หลังจากเข็มแรก
วัคซีนไข้กาฬหลังแอ่น ควรฉีดเฉพาะเด็กอายุ 2 ปีขึ้นไป เพื่อป้องกันระหว่างเดินทางไปในประเทศตะวันออกกลาง เช่น ซาอุดิอาราเบีย ซึ่งมักพบโรคนี้ระบาด
วัคซีนนิวโมคอคคัส แบบ 23 วาเล้นท์ ควรฉีดผู้ที่มีอายุมากกว่า 2 ปี ที่มีความเสี่ยงต่อโรครุนแรงได้สูง อย่างเช่น เด็กที่เป็นโรคภูมิคุ้มกันผิดปกติ ผู้ที่เป็นโรคปอด โรคหัวใจ
วัคซีนไทฟอยด์ ควรฉีดให้เด็กหากต้องเดินทางไปในที่ที่มีโรคระบาด น้ำและอาหารไม่สะอาดหรือมีสารปนเปื้อน

การดูแลทารกหลังฉีดวัคซีน
วัคซีนทุกตัวที่นำมาใช้ในปัจจุบันได้รับการทดสอบทั้งจากคนและสัตว์แล้ว ทั้งนี้ อาการของเด็กที่เป็นอันตรายรุนแรงหลังฉีดวัคซีนจะไม่ค่อยพบเห็น อย่างไรก็ตามคุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องเป็นกังวลมาก เพราะในวัคซีนที่มีลักษณะเฉพาะอย่าง เช่น คางทูม หัดเยอรมัน เมื่อฉีดไปแล้วจะมีไข้ หลังจากนั้น 4-5 วันอาจจะมีอาการปวดข้อได้ เด็กบางรายอาจจะมีอาการผิดปกติ เช่น ปากเจ่อ ผื่นขึ้น บวมแดง หายใจไม่ออก หรือมีอาการทางสมอง เช่น ไม่รู้สึกตัว ชัก ต้องรีบพาไปพบแพทย์
อาการทั่วไปหากเด็กมีไข้สูงจากการฉีดวัคซีนให้ดูแล ดังนี้
เมื่อลูกตัวร้อนก็ให้พยายามเช็ดตัวเพื่อลดอุณหภูมิ
ให้ลูกกินยาลดไข้
หากมีอาการปวด บวม แดงร้อน บริเวณที่ฉีดก็ให้ใช้ น้ำอุ่นประคบ 2-3 วัน

ข้อควรระวังการฉีดวัคซีนในเด็กเล็ก
ฉีดวัคซีนในขณะสุขภาพร่างกายของลูกแข็งแรงดี หากลูกไม่สบายควรเลื่อนการฉีดวัคซีนไปก่อน
การฉีดวัคซีนสามารถเลื่อนได้ประมาณ 2-4 สัปดาห์
หากถึงกำหนดการรับวัคซีนแล้วแต่ยังไม่ได้พาเด็กไป ให้ไปรับทันทีไม่ว่าทิ้งช่วงนานเท่าไรก็ตาม
วัคซีนแต่ละชนิดจะให้ผลข้างเคียงไม่ต่างกัน เช่น เจ็บปวดเฉพาะที่ ไม่สบายตัว
หากมีอาการปวดบวมบริเวณที่ฉีดให้ประคบเย็น
เมื่อเด็กฉีดวัคซีนเสร็จ ควรดูอาการที่โรงพยาบาลก่อนสัก 30 นาที ค่อยกลับบ้าน จากนั้นให้สังเกตอาการอย่างต่อเนื่อง
เก็บบันทึกสุขภาพการฉีดวัคซีนของลูกไว้ด้วย

โดย ??? : 2014-01-29 06:00:18 IP : 110.171.183.127

ข้อความ *
รูปภาพ (รูปต้องมีขนาดไม่เกิน 50 k)
ผู้แสดงความคิดเห็น *
Email
 
New Code
Verify Code *

Your Data :
IP : 3.145.39.176
Internet form : ec2-3-145-39-176.us-east-2.compute.amazonaws.com
Date : 2024-11-21 12:55:23