กระทู้ความคิดเห็น
ผู้แสดงความคิดเห็น 0 คน
|
????????????????????????????????????? |
เสียงกับสมาธิและการจดจำของเจ้าตัวน้อย เราทราบดีว่าเด็กเกิดมาพร้อมเซลล์สมองแสนล้านเซลล์ ที่กำลังรอการเชื่อมต่อกัน เพื่อนำเข้า ส่งต่อ และบันทึกข้อมูลต่างๆ ทุกๆ ครั้งที่เด็กถูกกระตุ้นให้คิด จุดเชื่อมต่อที่เกิดขึ้นหรือที่มีอยู่แล้วก็แข็งแรงขึ้น ถ้าจุดเชื่อมต่สมองก็จะเหี่ยวเฉาตายไปได้เช่นกัน ดังนั้น การที่เด็กได้รับการกระตุ้น ผ่านประสาทสัมผัสต่างๆ จะช่วยส่งเสริมการทำงานของสมองได้ โดยเฉพาะกระตุ้นผ่าน เสียง’ ซึ่งอาจจะเป็นเสียงของคุณแม่ คุณพ่อ เสียงดนตรี หรือเสียงจากธรรมชาติรอบตัว ล้วนส่งผลต่อการทำงานของสมองลูกทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม ไม่เพียงส่งผลต่อทารกในยามตื่นเท่านั้น หากแม้ในยามหลับ เสียงก็ยังส่งผลต่อการทำงานของสมองด้วยเช่นกัน ดังเช่น การวิจัยชิ้นหนึ่งของมหาวิทยาลัยคิงส์ คอลเลจ ประเทศอังกฤษ ที่ได้ลองใช้เครื่องเอ็กซเรย์ด้วยคลื่นแม่เหล็กศึกษาปฏิกิริยาของสมองทารกที่หลับอยู่กับเสียงโดยรอบ ในทารกที่เพิ่งเกิดมาได้ 3-7 เดือน โดยไม่ไปกวนจนตื่นขึ้นมา พบว่า สมองหลายส่วนของทารกแสดงปฏิกิริยาต่อเสียงต่างๆ แบบเดียวกับสมองของผู้ใหญ่ในยามตื่น โดยเฉพาะเสียงที่แสดงอารมณ์ออกมาด้วย เช่น เสียงหัวเราะ หรือร้องไห้ ที่พบว่าปฏิกิริยาโต้ตอบจะยิ่งแรงขึ้น จะเห็นได้ว่าเสียงส่งผลต่อการทำงานของสมอง สามารถสร้างสมาธิและการจดจำให้ลูกน้อยได้ ทั้งในยามหลับยามตื่น และสิ่งที่เราต้องใส่ใจมากขึ้นคือ คุณภาพของเสียงที่ลูกควรได้ยินจะต้องไม่ไปกระตุ้น เร้งเร้า หรือสร้างความเครียดให้ลูกด้วยเช่นกัน เช่น เสียงเพลงกล่อมลูกของคุณแม่ เสียงจากการชวนลูกพูดคุยด้วยความรักของคุณแม่ หรือหากจะใช้เสียงเพลงก็อาจเลือกเพลงกล่อมเด็ก (Lullaby) ที่มีทำนองช้าๆ ไม่เร็วหรือมีจังหวะถี่กระแทก มาเปิดให้ลูกฟังได้ รวมทั้งของเล่นมีเสียง เช่น ช้อนไม้เคาะกับสิ่งของทำให้เกิดเสียง ฝึกให้ลูกหันซ้าย-ขวาไปตามต้นเสียง เป็นการฝึกความนิ่งและการจดจ่อให้ลูกได้อีกวิธีหนึ่ง
|
|
โดย ??? : 2013-11-08 03:06:50 IP : 110.171.36.69 |
|
|||||