กระทู้ความคิดเห็น
ผู้แสดงความคิดเห็น 0 คน
|
??????????? ?????????????? |
วิธีป้องกัน ลูกน้อยสำลักนม ปัญหาลูกสำลักนม เป็นปัญหาหนักอกสำหรับคุณพ่อคุณแม่อยู่ไม่น้อย เพราะการสำลักนมในเด็กเล็ก ก่อให้เกิด ปัญหาตามมามากมายอาจทำให้เสียชีวิตได้ ปัญหาดังกล่าวเกิดจากหลายปัจจัย ดังนี้ค่ะ ปัจจัยภายใน เด็กแรกเกิดที่มีปัญหาอวัยวะเกี่ยวข้องกับการดูดกลืนผิดปกติ เช่น ปากแหว่งเพดานโหว่ช่องต่อระหว่างทางเดินอาหารกับระบบทางเดินหายใจมีปัญหาหรือภาวะหูรูดทางเดินอาหารที่ยังปิดได้ไม่สมบูรณ์ เด็กแรกเกิดที่มีปัญหาเรื่องโรคหัวใจหรือปอด ทำให้ต้องหายใจเร็วขึ้น จึงมีโอกาสในการสำลักมากกว่าเด็กปกติทั่วไป ปัญหาเรื่องพัฒนาการที่ล่าช้า หรือมีประวัติชัก ก็มีโอกาสเสี่ยงต่อการสำลักได้ง่ายขึ้น ปัจจัยภายนอก วิธีการให้นม การให้ลูกดูดนมแม่ โอกาสที่จะเกิดการสำลักมีได้น้อย เพราะน้ำนมแม่จะไหลก็ต่อเมื่อลูกได้ดูดนมแม่ แต่หากให้นมขวด ไม่ว่าลูกจะดูดหรือไม่ดูด นมก็จะไหลออกมา ดังนั้น หากคุณอุ้มให้นมลูกไม่ถูกวิธี เช่น ป้อนนมในขณะที่เด็กนอน ป้อนนมในขณะที่ลูกกำลังร้อง หรือให้ลูกนอนกินนม ก็มีโอกาสทำให้ลูกสำลักได้ ปริมาณนม เป็นไปได้ที่คุณเกิดความเข้าใจผิด เกี่ยวกับเรื่องกินของลูก (ร้องเป็นป้อนนม ร้องเป็นป้อนนม) ทำให้ปริมาณนมในกระเพาะมากเกินความต้องการ ทำให้เกิดการสำลักนมออกมา การใช้จุกนมที่ผิดขนาด ไม่เหมาะกับช่วงวัย ก็มีส่วนทำให้ปริมาณนมที่ลูกได้รับมากเกิน สังเกตจากอาการอย่างไร ระหว่างที่เด็กกินนม แรกๆ เด็กจะไอ มีอาการเหมือนกับจะขย้อนนมหรืออาหารออกมา หากสำลักไม่มาก ก็อาจไอเล็กน้อย 2-3 ครั้งแล้วก็หายไป หากสำลักมาก เด็กจะไอแรงถึงขนาดหน้าเขียว หรือมีเสียงหายใจผิดปกติ ดังครึดคราด กรณีที่มีอาหารอื่นเข้าไปร่วมด้วย เด็กอาจตัวเขียว มีอาการข้างเคียงตามมา เช่น ไอเรื้อรัง มีเสียงหายใจผิดปกติ ลักษณะ แบบนี้ควรรีบพาลูกน้อยพบคุณหมอ บางครั้งการสำลักอาจไม่จำเป็นต้องสำลักขณะที่ลูกกินนม เนื่องจากขณะที่เด็กนอนหลับ หูรูดกระเพาะอาหารจะค่อยๆ ผ่อนคลายตัว ทำให้นมไหลย้อนกลับขึ้นมา การสำลักของเหลวในเด็กเล็ก อาจไม่ร้ายแรงมากนัก หากให้นมและดูแลลูกอย่างถูกวิธี เพราะหากของเหลวเข้าไปถึงหลอดทางเดินอาหาร กลไกในร่างกายจะสามารถดูดกลืนได้เองตามปกติแต่หากเป็นการสำลักวัตถุแปลกปลอมที่หลุดเข้าไปในปาก เมื่อวัตถุไหลลงไปถึงหลอดลม ทำให้เกิดการอุดตันทางเดินหายใจ เด็กจะขาดออกซิเจน จนถึงขั้นพิการหรือเสียชีวิต 4 ข้อป้องกันให้ถูกวิธี 1. ควรให้ลูกได้รับนมแม่เพียงอย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรกที่สำคัญ ควรเริ่มต้นให้อาหารเสริมตามวัยที่เหมาะสม คือเมื่ออายุ 4-6 เดือนไปแล้ว เพราะทักษะการดูดกลืนของลูกทำงานได้ดีมากขึ้นกว่าช่วงแรกเกิด และสามารถชันคอตั้งตรงได้ดี โอกาสที่จะเกิดการสำลักก็มีน้อยลง 2. ของเล่นชิ้นเล็กชิ้นน้อย หรือของเล่นที่สามารถแตกหักออกได้ง่ายไม่ควรนำมาให้ลูกเล่น เช่น กระพรวน กระดิ่ง เหรียญ ลูกปัด 3. เลือกประเภทอาหารที่เหมาะกับวัย เช่น โดยทั่วไปเด็กที่อายุน้อยกว่า 3 ปี ไม่แนะนำให้กินถั่วเม็ดเล็ก ข้าวโพด เมล็ดทานตะวัน เพราะมีโอกาสที่เด็กจะเกิดการสำลักได้ง่าย แต่หากจะนำมาปรุงให้กับเด็กเล็กๆ ก็ควรบดหรือตัดให้ขนาดเล็กพอควร 4. จับลูกเรอทุกครั้งหลังที่กินนมเสร็จ เด็กเล็ก (0-2 เดือน) ที่คอยังไม่แข็ง ควรใช้วิธีอุ้มลูกนั่งตัก ใช้มือประคองช่วงขากรรไกรเพื่อประคองศีรษะ แล้วใช้มืออีกข้างลูบหลังขึ้นเบาๆ สำหรับเด็กที่คอแข็งดีแล้ว อาจใช้วิธีทำอุ้มพาดบ่า ใช้มือประคองด้านหลัง ลูบขึ้นเบาๆ วิธีช่วยเหลือเบื้องต้น สำลักนม จับเด็กนอนตะแดง ให้ศีรษะเด็กต่ำลง เพื่อป้องกันไม่ให้นมหรืออาหารที่อาจมีอยู่ในปากไหลย้อนกลับไปที่ปอด ที่สำคัญ ไม่ควรจับเด็กอุ้มขึ้นทันทีเมื่อเกิดอาการสำลัก วิธีตบหลัง โดยจับเด็กนอนคว่ำให้ศีรษะต่ำลงบนแขน แล้วใช้ฝ่ามือตบกลางหลังบริเวณกระดูก ติดต่อกัน 5 ครั้ง และสังเกตสิ่งแปลกปลอมในปากเด็ก ถ้าเห็นสิ่งแปลกปลอมให้เอาออก ถ้าไม่เห็นให้ทำขั้นตอนต่อไป วิธีกระแทกหน้าอก โดยจับเด็กพลิกหงายขึ้นบนตัก ในท่าศีรษะต่ำใช้นิ้วมือ 2 นิ้วกระแทกแรงๆ ลงบนกระดูกหน้าอก เหนือลิ้นปี่ 5 ครั้ง แล้วสังเกตสิ่งแปลกปลอมในปากเด็ก ตบหลังและกระแทกหน้าอกครบทั้ง 5 ครั้ง ติดต่อกันจนกว่าจะเห็นสิ่งแปลกปลอม สิ่งสำคัญในการช่วยเหลือเด็ก ที่สำลักวัตถุของแข็งคือ ไม่ควรรีบใช้มือหยิบจับ หรือดึงของออกมาจากปากเด็ก เพราะนิ้วมืออาจไปกดทับสิ่งของที่อยู่ด้านใน และทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นบวมขึ้นและบางครั้งอาจดันทำให้สิ่งแปลกปลอมนั้นอุดกั้นทางเดินหายใจมากขึ้น การช่วยเหลือในเบื้อต้นจะสามารถทำได้ ก็ต่อเมื่อคุณมั่นใจว่า มองเห็นวัตถุสิ่งแปลกปลอม แล้วเปิดปากเด็กหยิบวัตถุออกมา คำแนะนำสำหรับคุณพ่อคุณแม่ ปัญหาการสำลัก จะพบบ่อยในเด็กที่อายุตั้งแต่ 6 เดือน-3 ปี เพราะเป็นช่วงวัยที่เด็กได้รับอาหารเสริม ที่มีลักษณะแข็งมากขึ้น และเป็นวัยที่เด็กสามารถใช้นิ้วมือหยิบจับอาหาร สิ่งของเข้าปากได้เอง จึงมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดการสำลักจากการนำสิ่งของเข้าปาก โดยเฉพาะช่วง 1 ขวบปีขึ้นไปที่สามารถเดิน วิ่งเล่น หรือกระโดดไปมาได้แล้ว ควรเริ่มฝึกให้เด็กสามารถนั่งกินข้าวได้เองที่โต๊ะอาหาร เพื่อเป็นการสอนให้เด็กรู้จักเวลากิน และลดปัญหาการสำลัก ส่วนกรณีที่เด็กเล็กอายุน้อยกว่า 6 เดือนสำลัก โดยส่วนมากแล้วพบได้ไม่บ่อย เพราะหากพ่อแม่รู้จักวิธีการป้อนนมที่ถูกต้อง โอกาสที่ลูกจะสำลักนมก็มีน้อยลง แต่หากลูกมีอาการสำลัก แล้วไม่มั่นใจ ก็ควรปรึกษาแพทย์โดยทันที ขอแนะนำแม่มือใหม่ว่า ควรให้ลูกได้รับนมแม่ เพราะโอกาสที่ลูกจะสำลักจากการกินนมแม่นั้นมีน้อยมาก แต่หากจำเป็นต้องให้ลูกได้รับนมผสม ก็ควรให้นมอย่างถูกวิธี และระมัดระวัง ดูแลอย่างใกล้ชิด เช่น พ่อแม่ที่ยังอ่อนประสบการณ์อาจตกใจกับอาการสำลัก จับเด็กขึ้นทันที ทำให้นมที่ไหลค้างอยู่ในปาก ไหลย้อนกลับไปที่หลอดลม ทำให้เด็กเกิดการสำลักได้ ดังนั้น คุณพ่อแม่คุณแม่ควรจับเด็กนอนตะแคง เพื่อให้นมที่ค้างอยู่ไหลออกมาให้หมดก่อน
|
|
โดย ??? : 2013-07-16 05:02:08 IP : 110.171.36.69 |
|
|||||