กระทู้ความคิดเห็น

ผู้แสดงความคิดเห็น 0 คน
ผู้เข้าชม 768 คน

?????????????????????????????
เข้าใจภาษาทารกไม่ใช่เรื่องยาก


เมื่อเขาคลอดออกมาแล้ว เขาจะยิ่งรับรู้จากการฟังเสียงที่คุณแม่สื่อสารได้ตั้งแต่ 2-3 ชั่วโมงแรกเลยค่ะ


                จริงๆ แล้วการเรียนรู้ภาษาทารกนั้นไม่ใช่เรื่องยาก แต่คุณแม่มือใหม่อาจจะยังไม่คุ้นเคยโดยเฉพาะกับลูกคนแรกด้วยแล้ว บางครั้งการสื่อภาษาของลูกน้อยอาจต้องการบอกเราในบางอย่าง ดังนั้น เรามาทำความเข้าใจภาษาลูกน้อยตั้งแต่วัยทารกจนกระทั่งเติบโตกันดีกว่าค่ะ

                อายุ 0-1 เดือน ช่วงนี้ทารกน้อยจะนอนหลับเป็นส่วนใหญ่จึงยังไม่อาจสื่อสารอะไรกับคุณแม่ได้มากนัก แต่ขณะเดียวกันทารกกำลังเริ่มปรับตัวเพื่อให้เข้ากับสภาพแวดล้อรอบตัวมากขึ้น เมื่อได้ยินเสียงดังรอบข้างจึงมักจะสะดุ้งตกใจ

                อายุ 2-4 เดือน เริ่มส่งยิ้มกับผู้ที่มาหยอกล้อเล่นด้วยอย่างมีความสุข และสามารถแยกเสียงสูงต่ำได้เนื่องจากระบบการได้ยินทำงานเข้าที่เข้าทางมากขึ้น

                อายุ 5-6 เดือน เมื่อเด็กได้ยินเสียงที่ตนพอใจก็จะตื่นเต้นและส่งท่าทางเพื่อตอบสนองรับกับเสียงที่ได้ยินนั้นในระดับหนึ่ง

                อายุ 7-12 เดือน เด็กจะเริ่มเข้าใจความหมายของคำที่คุณแม่สื่อสารด้วยได้ อย่างเช่น คำว่า “ปาป๊า มาม๊า หม่ำๆ จ๋าจ้ะ ฯลฯ” อีกทั้งรับรู้และจดจำชื่อของตนเองได้ รวมถึงคำต่างๆ ที่เราสื่อสารกับลูกอย่างสม่ำเสมอ

                อายุ 1-2 ปี เด็กเริ่มเรียนรู้และสามารถจดจำคำศัพท์ต่างๆ ที่คุณพ่อคุณแม่สื่อสารด้วยได้ สามารถชี้ภาพและรู้จักอวัยวะของตัวเองในร่างกายเพิ่มขึ้น แต่สิ่งเหล่านี้เด็กจะเรียนรู้ได้มากน้อยแค่ไหนนั้นก็ขึ้นอยู่กับการสื่อสารและกระตุ้นพัฒนาการของคุณแม่ด้วยค่ะ หากคุณแม่หมั่นเล่นสื่อสารกับลูกบ่อย เด็กจะจดจำและตอบสนองในสิ่งที่รับรู้ได้ดียิ่งขึ้น เช่น หากคุณแม่สั่งให้หยิบของเล่นเด็กก็สามารถทำตามได้
 

 ภาษาของทารกกับการแสดงออก

                ในช่วง 3 ปีแรก เด็กจะมีพัฒนาการด้านการรับรู้และแสดงออกทางภาษากับคุณพ่อคุณแม่อย่างรวดเร็วมากทีเดียวค่ะ โดยเฉพาะการรับรู้ตั้งแต่แรกเริ่มในครรภ์จึงส่งผลให้สามารถตอบสนองสิ่งที่ได้ยินมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ทารกน้อยนั้นก็ยังไม่สามารถแสดงออกได้มากเท่าการเรียนรู้และจดจำในสิ่งที่ได้ยินจากคุณพ่อคุณแม่


                เมื่อเด็กอายุได้ 6-9 เดือน สังเกตได้ว่าเด็กจะเริ่มส่งเสียงอ้อแอ้ๆ ได้แล้ว ช่วงเวลานี้เป็นสัญญาณที่เด็กกำลังเริ่มหัดใช้ภาษาและพัฒนาการต่อเนื่องจนกระทั่งสามารถพูดออกมาเป็นคำได้ในอนาคตต่อไป คุณแม่เองก็สามารถเป็นผู้ช่วยเสริมทักษะของลูกน้อยโดยหมั่นกระตุ้นพัฒนาการลูกรักของคุณบ่อยๆ เพียงคุณแม่หมั่นพูดสื่อสารกับลูกเป็นประจำ เด็กน้อยจะจดจำและเกิดการเรียนรู้เมื่อพบว่าตัวเองมีคู่สนทนาตรงหน้า เด็กจะยิ่งตอบสนองเสียงคุณแม่อย่างต่อเนื่อง แต่คุณแม่ควรเน้นพูดประโยคที่สั้น ไม่ยาวจนเกินไป แล้วเว้นจังหวะหยุดเพื่อให้ลูกได้ตอบสนองคุณแม่คืนบ้าง


                คุณแม่สามารถคุยกับลูกได้ทุกเวลา ตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้า ตอนพาลูกทานข้าว คุณแม่ก็อาจพูดส่งสัญญาณด้วยคำว่า ‘หม่ำ’ เด็กจะเข้าใจว่านี่เป็นเวลาทานข้าวนั่นเอง แม้แต่กระทั่งเวลาอาบน้ำ ดื่มนม และเข้านอนก็เช่นเดียวกัน คุณแม่สามารถใช้ของเล่นเป็นตัวช่วยแสดงท่าทางประกอบเพื่อกระตุ้นการรับรู้และตอบสนองทางภาษาของคุณแม่ได้อย่างชัดเจนขึ้น


                แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น คุณแม่ไม่ควรพาลูกเล่นกับสิ่งเดิมๆ หรือพูดคำเดิมบ่อย เมื่อรู้รับรู้ในสิ่งนั้นจนเกิดความคุ้นชินแล้ว ลูกจะรู้สึกปกติธรรมดาเพราะไม่รู้สึกตื่นเต้นกับอะไรใหม่ๆ แล้ว ดังนั้น คุณแม่อาจจะเปลี่ยนคำพูด หยอกล้อเล่นด้วยท่าทางใหม่ เปลี่ยนของเล่นชิ้นใหม่เพื่อเปิดโลกทัศน์และสร้างพัฒนาการใหม่ให้เด็กตื่นตาตื่นใจเพื่ออยากเรียนรู้ต่อไปเพิ่มขึ้น


                การเข้าใจภาษาลูกรักไม่ใช่เรื่องยาก ลูกจะสื่อสารตอบสนองกับเราอยากไร จึงขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูของคุณแม่โดยทั้งสิ้น หากคุณแม่สื่อสารด้วยภาษารักจากใจ รับรองว่าเขาย่อมเป็นเด็กที่เรียนรู้อย่างชาญฉลาดและตอบสนองความรักจากแม่ได้อย่างอบอุ่นแน่นอนค่ะ 

โดย RukLuke [rukluke@gmail.com] : 2017-01-24 04:26:21 IP : 58.8.28.20

ข้อความ *
รูปภาพ (รูปต้องมีขนาดไม่เกิน 50 k)
ผู้แสดงความคิดเห็น *
Email
 
New Code
Verify Code *

Your Data :
IP : 3.137.183.14
Internet form : ec2-3-137-183-14.us-east-2.compute.amazonaws.com
Date : 2024-04-20 14:11:11