กระทู้ความคิดเห็น

ผู้แสดงความคิดเห็น 0 คน
ผู้เข้าชม 715 คน

10 ???????????????????????????????????????
10 บัญญัติเพื่อการดูแลลูกในช่วงวิกฤติการณ์

น้ำท่วมไม่เพียงแต่สร้างความทุกข์ใจให้กับผู้ใหญ่เท่านั้น แม้เด็กตัวเล็กๆ ที่ดูเหมือนจะไม่รู้ความก็ได้รับผลกระทบอันนี้ด้วยเช่นกัน การช่วยให้พวกเขาก้าวพ้นความทุกข์ใจในครั้งนี้มีความจำเป็น เพราะความทุกข์ใจนอกจากจะสร้างความทรมานให้แก่เด็กแล้ว มันยังสามารถสกัดกั้นพัฒนาการทั้งทางด้านจิตใจ สติปัญญา และพัฒนาการทางด้านร่างกายของเด็กด้วย

เตรียมของใช้ข้อแนะนำ 10 ข้อต่อไปนี้ คือข้อแนะนำเบื้องต้นที่พ่อแม่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง เพื่อช่วยนำพาลูกให้ผ่านพ้นวิกฤติการณ์น้ำท่วมคราวนี้ไปได้

1. ดูแลข้าวของจำเป็นพื้นฐานต่อการดำรงชีวิตของครอบครัวให้ครบถ้วน
น้ำ อาหาร นม ยาที่จำเป็น เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม สิ่งเหล่านี้คือความอยู่รอดของชีวิต ถ้าเราไม่สามารถดูแลเรื่องเหล่านี้ได้ เรื่องอื่นๆ ก็จะยิ่งมีความยากลำบากมากขึ้น

2. ดูแลสุขภาพอนามัยของทุกคนให้ดี
เพราะความเครียดของจิตใจมีผลทำให้ความต้านทานของคนเราลดลงได้ โดยเฉพาะในเด็ก

3. สร้างสิ่งแวดล้อมที่อบอุ่นใจให้เด็ก
สถานการณ์ที่สับสนจะทำให้เด็กมีความรู้สึกไม่ปลอดภัย พ่อแม่ต้องทำให้เขารู้สึกปลอดภัยในสถานการณ์ที่ยากลำบากเช่นนี้ให้ได้ ทั้งด้วยคำพูด การแสดงออก ตลอดจนการดูแลอย่างใกล้ชิด

คำพูด “น้ำท่วมดูน่ากลัว แต่คุณลุงทหาร คุณลุงตำรวจ คุณลุงเทศกิจ กำลังช่วยพวกเราอยู่จ้ะ” จะช่วยให้ลูกรู้สึกว่าทุกอย่างกำลังได้รับการแก้ไข

การบอกลูกว่า “แม่รู้ว่าหนูกลัว แต่แม่จะอยู่ข้างๆ หนูตลอดเวลา” พร้อมกับดึงเขาเข้ามากอด จะทำให้เขารู้สึกว่าแม้จะมีอันตราย แต่เขายังมีแม่ (หรือพ่อ) อยู่ข้างๆ คอยปกป้องอยู่ตลอดเวลา เขาจะรู้สึกปลอดภัยมากกว่าการที่พ่อแม่พูดเพียงว่า “ลูกไม่ต้องกลัว”

4. บอกความจริงกับลูก
การบอกเล่าเรื่องราวทั้งหมดว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น มีใครกำลังทำอะไรอยู่บ้างกับปัญหานี้ ตามความสงสัยและความสามารถในการรับรู้ของเด็ก จะทำให้เด็กสามารถจัดการกับเรื่องราวต่างๆ ได้ดีกว่าการปิดบังเรื่องทั้งหมดไว้

5. สังเกตพฤติกรรมของลูกที่มีต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
ลูกซึมไปหรือไม่ ขี้อ้อนมากขึ้นหรือเปล่า หรือบ่นปวดท้องปวดหัว ปัสสาวะรดที่นอนทั้งๆ ที่หายไปนานแล้ว หรือมีการแสดงออกที่ก้าวร้าวขึ้น อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณบอกว่าเขากำลังเครียด

การถามว่า “ลูกมีอะไรจะบอกแม่ แต่มันไม่รู้จะพูดออกมายังไงบ้างไหม” หรือ “เห็นข่าวน้ำท่วมแล้ว หนูอยากพูดอะไรกับแม่บ้างไหม” แล้วคอยฟังคำตอบอย่างตั้งใจ จะช่วยให้เราได้รับรู้ถึงความคิดและความรู้สึกของเขามากขึ้น และจะเป็นช่องทางให้เราได้อธิบายสิ่งต่างๆ ให้เขาฟังตรงกับความต้องการของเขาได้มากขึ้น

6. ติดต่อเครือข่ายเพื่อนฝูง ญาติมิตรอยู่เสมอ
ไม่แน่หรอก เราอาจจำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากเครือข่ายเหล่านี้ และที่สำคัญก็คือการที่เรารู้สึกว่าเรามีแหล่งความช่วยเหลือเราจะรู้สึกมั่นใจ และความมั่นใจนี้มันแสดงออกโดยไม่รู้ตัวได้ เด็กๆ เขาจะอ่านสัญญาณนี้ออก

7. ความมั่นใจของพ่อแม่จะทำให้เด็กๆ รู้สึกมั่นคงปลอดภัย
เด็กบางคนมีความต้องการเป็นกรณีพิเศษ เด็กที่ได้รับบาดเจ็บ เด็กที่เคยมีปัญหาทางอารมณ์และพฤติกรรมมาก่อน เด็กที่สูญเสียญาติพี่น้อง เพื่อน คนใกล้ชิดไปกับหายนะภัยคือคนที่พ่อแม่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ เพราะเขาจะเปราะบางต่อปัญหามากกว่าเด็กทั่วๆ ไป

8. กระตุ้นสำนึกแห่งจิตอาสา
กระตุ้นการมองโลกในแง่ดีลูกอาจอยากช่วยทำอะไรสักอย่างเพื่อผู้ประสบภัย จงแสดงความชื่นชม ให้กำลังใจและสนับสนุน แต่หากสิ่งที่ลูกคิดอาจยากเกินไปสำหรับเด็กอย่างเขา จงแสดงความชื่นชมพร้อมกับเสนอทางออกอย่างอื่นที่เป็นไปได้ให้เขาพิจารณา

บางครั้งลูกอาจโกรธแค้นต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและแสดงความก้าวร้าวออกมา โดยเฉพาะในเด็กที่โตแล้ว การรับฟังความรู้สึกของเขาอย่างตั้งใจและเข้าใจ เปิดโอกาสให้เขาได้ระบายออก และชวนเขาพูดคุยถึงผลที่จะตามมาหากเขาตัดสินใจตามความรู้สึกของตนเอง จะช่วยให้เขาสามารถปรับวิธีคิดมาสู่สภาวะที่สร้างสรรค์ได้ดีขึ้น

9. แสดงความสามารถในการเผชิญปัญหาให้ลูกเห็น
เด็กที่ได้เห็นความสามารถของพ่อแม่ในการแก้ปัญหา จะรู้สึกว่าอันตรายทุกอย่างพ่อแม่สามารถจัดการได้ พ่อแม่ต้องร่วมมือร่วมใจกับเจ้าหน้าที่ ชุมชนและเพื่อนบ้านในการปกป้องชุมชนของตนเองจากหายนะภัย และต้องเล่าเรื่องราวที่ไปทำให้ลูกฟัง เขาจะรู้สึกอบอุ่นและปลอดภัย เพราะพ่อแม่คือฮีโร่ผู้พิทักษ์ที่จะพิทักษ์ปกป้องอันตรายให้กับเขา

10. แสวงหาความช่วยเหลือเมื่อถึงคราวจำเป็น
ต้องระลึกเสมอว่าครอบครัวกำลังเผชิญกับ “หายนะภัย” ซึ่งบางปัญหาอาจแก้ไขโดยลำพังเราเองไม่ได้ การแสวงหาความช่วยเหลือจากผู้อื่นอาจจำเป็น เบอร์โทรศัพท์สำคัญๆ สำหรับการขอความช่วยเหลือต้องมีไว้ ถึงเวลาจะได้ค้นหาออกมาใช้ได้ การพบผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องโดยเฉพาะปัญหาของลูกบางคราวก็หลีกเลี่ยงไม่ได้

ทุกปัญหาย่อมมีทางออกเสมอ สำคัญว่าเราจะค้นพบทางออกหรือไม่ แต่การเตรียมตัวของเราให้พร้อมย่อมทำให้เรามีโอกาสค้นพบทางออกได้มากกว่า

โดย ??? : 2014-08-15 13:37:45 IP : 110.171.36.24

ข้อความ *
รูปภาพ (รูปต้องมีขนาดไม่เกิน 50 k)
ผู้แสดงความคิดเห็น *
Email
 
New Code
Verify Code *

Your Data :
IP : 18.191.21.86
Internet form : ec2-18-191-21-86.us-east-2.compute.amazonaws.com
Date : 2024-04-19 6:54:16