กระทู้ความคิดเห็น

ผู้แสดงความคิดเห็น 0 คน
ผู้เข้าชม 673 คน

???????????
ภาษาของทารก

การเข้าใจภาษาทารกไม่ใช่เรื่องยาก แต่คุณแม่มือใหม่อาจจะยังไม่คุ้นเคยกับภาษาของทารกโดยเฉพาะลูกคนแรกด้วยแล้ว ดังนั้นเรามาทำความเข้าใจภาษาของลูกน้อยกันค่ะ

อายุ 0-1 เดือน 
ทารกจะนอนกลับเป็นส่วนใหญ่จึงยังไม่อาจสื่อสารอะไรได้มากนัก ช่วงวันนี้เมื่อทารกเริ่มปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมรอบตัวได้มากขึ้น เมื่อลูกได้ยินเสียงดังรอบข้างมักจะมีการสะดุ้งตกใจ

อายุ 2-4 เดือน
ทารกจะเริ่มส่งยิ้มกับผู้ที่มาหยอกล้อเล่นได้อย่างมีความสุข และสามารถแยกเสียงสูงต่ำได้เนื่องจากระบบการได้ยินเริ่มเข้าที่เข้าทางมากขึ้น
 
อายุ 5-6 เดือน
เมื่อเด็กได้ยินเสียงที่ตนพอใจก็จะตื่นเต้นและส่งท่าทางเพื่อตอบสนองรับกับเสียงที่ได้ยินนั้นในระดับหนึ่ง
 
อายุ 7-12 เดือน
เด็กในวัยนี้จะเริ่มเข้าใจความหมายของคำที่คุณแม่สื่อสารด้วย เช่น ปาป๊า มาม๊า จ๊ะจ๋า หม่ำๆ เป็นต้น นอกจากนี้จะสามารถรับรู้และจดจำชื่อขอตัวเองได้ รวมถึงคำต่างๆ ที่เราสื่อสารกับลูกอย่างสม่ำเสมอค่ะ
 
อายุ 1-2 ปี
เด็กเริ่มเรียนรู้และเข้าใจคำต่างๆ ที่คุณพ่อคุณแม่สื่อสารด้วยได้ สามารถชี้ภาพได้ 2-3 ภาพและรู้จักอวัยวะของตัวเองเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 5 ส่วน แต่จะสามารถรับรู้ได้มากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับการสื่อสารและการกระตุ้นพัฒนาการของคุณพ่อและคุณแม่ด้วยค่ะ คุณแม่ควรหมั้นเล่นสื่อสารกับลูกบ่อยๆ ลูกจะจดจำและตอบสนองในสิ่งที่รับรู้ได้ดีมากยิ่งขึ้น เช่น ลองบอกให้ลูกน้อยหยิบของเล่น

ภาษาและการแสดงออกของทารก
ในช่วง 3 ปีแรก เด็กจะมีพัฒนาการด้านการรับรู้และแสดงออกทางด้านภาษากับคุณพ่อคุณแม่ได้อย่างรวดเร็วตั้งแต่ในช่วงแรกเริ่มในครรภ์จึงส่งผลให้สามารถตอบสนองในสิ่งที่ได้ยินมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ทารกยังไม่สามารถแสดงออกได้มากเท่าการเรียนรู้และจดจำในสิ่งที่ได้ยินจากคุณพ่อคุณแม่

เมื่อเด็กเริ่มเข้าสู่ 6-9 เดือน เด็กจะเริ่มส่งเสียง อ้อแอ้ เป็นช่วงที่เด็กกำลังเริ่มหัดใช้ภาษาและพัฒนาการต่อเนื่องจนกระทั่งสามารถพูดเป็นคำได้ในอนาคต คุณแม่สามารถช่วยส่งเสริมทักษะของลูกน้อยได้โดยสื่อสารกับลูกน้อยเป็นประจำ ลูกจะจดจำและเกิดการเรียนรู้เมื่อพบว่าตัวเองมีคู่สนทนาตรงหน้า คุณแม่ควรเน้นพูดประโยคสั้นๆ ไม่ยาวเกินไป และเว้นจังหวะเพื่อให้ลูกได้ตอบสนองคุณแม่บ้างค่ะ จริงๆ แล้วคุณแม่สามารถคุยกับลูกได้ทุกเวลา ตั้งแต่ตื่นนอนตอนเช้า เวลาลูกทานข้าว คุณแม่อาจพูดคำว่า “หม่ำๆ” ลูกจะเข้าใจว่านี่เป็นเวลาทานข้าว หรือเวลาอาบน้ำ คุณแม่อาจพูดว่าอาบน้ำขณะทอดเสื้อผ้าลูกอยู่ หรืออุ้มพาเขาไปที่กระมังอาบน้ำ นอกจากนี้คุณแม่สามารถใช้ของเล่นมาเป็นตัวช่วยแสดงท่าทางประกอบเพื่อกระตุ้นการรับรู้และตอบสนองทางภาษาของคุณแม่ได้อย่างชัดเจนขึ้น แต่คุณแม่ไม่ควรพูดคำเดิมบ่อยๆ หรือให้ลูกเล่นกับของเล่นเดิมๆ เพราะเมื่อลูกรับรู้ในสิ่งนั้นจนคุ้นชิน ลูกจะไม่รู้สึกตื่นกับอะไรใหม่ๆ แล้ว คุณแม่ควรเปลี่ยนคำพูด หรือหยอกล้อเล่นด้วยท่าทางใหม่ๆ เปลี่ยนของเล่นชิ้นใหม่เพื่อเปิดโลกทัศน์และกระตุ้นการการสร้างพัฒนาการใหม่ๆ ให้ลูกรู้สึกตื่นตาตื่นใจเพื่อให้เค้าอยากมีการเรียนรู้เพิ่มขึ้นต่อไป

การเข้าใจภาษาของทารกไม่ใช่เรื่องยากแต่ขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูของคุณแม่ทั้งสิ้น หากคุณแม่สื่อสารภาษามาจากใจ เชื่อว่าลูกจะย่อมเป็นเด็กที่เรียนรู้อย่างได้อย่างฉลาดแน่นอนค่ะ

โดย ??? : 2014-07-22 09:14:18 IP : 110.171.36.24

ข้อความ *
รูปภาพ (รูปต้องมีขนาดไม่เกิน 50 k)
ผู้แสดงความคิดเห็น *
Email
 
New Code
Verify Code *

Your Data :
IP : 44.200.23.133
Internet form : ec2-44-200-23-133.compute-1.amazonaws.com
Date : 2024-03-28 23:06:17