กระทู้ความคิดเห็น

ผู้แสดงความคิดเห็น 0 คน
ผู้เข้าชม 664 คน

?????????????????? ??????????? ?????????
พฤติกรรมพ่อแม่สกัด พัฒนาการลูก จริงหรือ?

พ่อแม่ 4 แบบสกัด พัฒนาการลูกพัฒนาการลูก

เด็กวัย 3–6 ปี เป็นช่วงที่ พัฒนาการ มีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างเร็ว ซึ่งพ่อแม่คือคนสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการลูกให้ก้าวไกล หรือย่ำแย่ลงได้ โดยเฉพาะพฤติกรรมพ่อแม่ 4 แบบต่อไปนี้ ต้องห้ามเลยนะคะ


2 วิธีเช็กพัฒนาการลูก

1. เช็กตามเกณฑ์มาตรฐานเบื้องต้นจากสมุดวัคซีน เพราะในสมุดวัคซีนจะมีบันทึกพัฒนาการในช่วงอายุ 6 ปีแรกของลูกไว้ หากเทียบกับเกณฑ์พัฒนาการของลูกแล้ว พบว่าช้าหรือเร็วว่าปกติ ก็สามารถปรึกษาคุณหมอได้ทันทีเมื่อพาลูกไปรับวัคซีน อย่างไรก็ตามพัฒนาการของเด็กแต่ละคนอาจไม่ตรงตามเกณฑ์เสมอไป

2. ปรึกษากุมารแพทย์ ถ้าสังเกตว่า พัฒนาการลูก ล่าช้ากว่าปกติมากๆ เช่น 3 ขวบแล้วยังเดินล้มลุก วิ่งไม่คล่อง ขี่จักยาน 3 ล้อไม่ได้ หรือขึ้น-ลงบันไดสลับเท้าไม่ได้ เป็นต้น ให้สันนิษฐานเบื้องต้นได้เลยว่าลูกอาจมีพัฒนาการผิดปกติ เมื่อพ่าลูกไปฉีดวัคซีนให้รีบแจ้งกุมารแพทย์ ซึ่งกุมารแพทย์จะให้รายละเอียดมากขึ้นจากการซักประวัติพ่อแม่ว่าจริงๆ แล้วลูกมีพัฒนาการเป็นอย่างไร หากพบว่ามีความเสี่ยงก็จะมีการประเมินด้วยการใช้แบบทดสอบ (DDST) เป็นการประเมินพัฒนาการในแต่ละด้านว่าช้าหรือไม่


2 ปัจจัยกั้น พัฒนาการลูก

1. ปัจจัยด้านร่างกาย แบ่งเป็น 4 ประเภท

- มีโรคทางพันธุกรรม เช่น ดาวน์ซินโดรม

- เด็กที่มีภูมิปัญญาบกพร่อง

- เด็กที่ป่วยเรื้อรัง เช่น มีความพิการแต่กำเนิด เช่น คลอดออกมาเป็นโรคหัวใจแต่กำเนิด เช่น มีโรคลมชักอย่างรุนแรง

- เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดขึ้นในภายหลัง เช่น เป็นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ฝีในสมอง โรคไตวาย โรคขาดอาหารรุนแรง ก็จะทำให้เด็กอ่อนแอ และมีพัฒนาการช้าไปด้วย

2. ปัจจัยทางสภาพแวดล้อมและการเลี้ยงดู ซึ่งมีผลต่อพัฒนากาลูกมากที่สุด เพราะพัฒนาการแต่ละด้านของเด็กมีประสิทธิภาพที่พร้อมจะพัฒนาอยู่แล้ว แต่การเลี้ยงดูและสภาพแวดล้อมนั้นจะต้องเข้ามาช่วยเสริมให้ตรงกับช่วง พัฒนาการอย่างพอดี ไม่เร็วไม่ช้า หรือไม่มากไม่น้อยเกินไป


4 พฤติกรรมพ่อแม่สกัดพัฒนาการลูก

1. ปกป้องลูกมากเกินไป การปกป้องลูกมากเกินจะทำให้ลูกขาดโอกาสเรียนรู้ เช่น ลูก 3-4 ขวบ เริ่มสามารถช่วยเหลือตัวเองได้บ้างแล้ว แต่พ่อแม่ยังเข้าไปช่วย ทำให้ทุกอย่าง จะทำให้พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดใหญ่มัดเล็ก รวมถึงการเคลื่อนไหวร่างกายของลูกมีพัฒนาการที่ล่าช้าได้
ต้องเปลี่ยน : พ่อแม่ต้องระลึกไว้เสมอว่าลูกวัยนี้กำลังพัฒนาอะไร แล้วเปิดโอกาสให้ลูกได้ทำสิ่งนั้น โดยพยายามหักห้ามใจไม่เข้าไปขัดขวางหรือควบคุม ที่สำคัญต้องจัดสิ่งแวดล้อมให้ปลอดภัย เช่น ติดมุมโต๊ะเพื่อลบเหลี่ยมมุม หาที่ปิดปลั๊กไฟ หรือใช้แผ่นยางปูพื้นเพื่อกันกระแทก ลูกก็ปลอดภัยเล่นและเรียนรู้ได้เต็มที่ พ่อแม่ก็อุ่นใจหายห่วงด้วย

2. ขาดการส่งเสริมอย่างเพียงพอ การเลี้ยงดูลูกอย่างปล่อยปละละเลย ไม่มีเวลาเอาใจใส่อย่างเพียงพอ ไม่ได้หาของเล่นที่เหมาะสม ไม่ได้พูดคุย ไม่ได้อ่านหนังสือให้ลูกฟัง รวมทั้งขาดการทำกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัย ลูกก็จะขาดโอกาสในการพัฒนาทักษะต่างๆ ในทุกด้าน
ต้องเปลี่ยน : พ่อแม่ต้องปรับ เปลี่ยนทัศนคติ และต้องเข้าใจว่าพัฒนาการต่างๆ นั้นสำคัญพอๆ กับการเป็นอยู่หรือเรื่องกินนอนของลูก จากนั้นก็ลำดับความสำคัญจัดสรรช่วงเวลาที่อยู่กับลูกให้มากที่สุด เพราะหากพ่อแม่มีเวลาอยู่กับลูกมากๆ ก็จะช่วยป้องกันลูกจากสื่อต่างๆ ที่ไม่เหมาะสมกับวัย เช่น การดูทีวีมากเกินไป เล่นเกม เล่นคอมพิวเตอร์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้หากปล่วยไว้นาน พ่อแม่จะยิ่งเข้าไปควบคุมดูแลลูกได้ยากขึ้น

3. จัดกิจกรรมที่ไม่เหมาะสมให้กับลูก เช่น ให้ดูทีวี ใช้คอมพิวเตอร์ เล่นเกม ถ้าพ่อแม่ไม่ได้คัดกรอง ไม่ได้ควบคุมเวลาในการเล่นสิ่งเหล่านี้ ลูกจะขาดโอกาสเรียนรู้ทางสังคมและพัฒนาการด้านอื่นๆ ก็ช้าไปด้วย เพราะลูกไม่ได้วิ่งเล่น ไม่ได้เจอเพื่อนๆ ในวัยเดียวกัน
ต้องเปลี่ยน : ช่วง 3 ปีแรกเป็นวัยทองทางด้านภาษา หากลูกได้ฟังนิทาน ได้ฟังเพลง ได้พูดคุยกับพ่อแม่ขณะเล่นด้วยกัน ลูกก็จะได้พัฒนาการภาษาไปโดยอัตโนมัติ หรือการหาของเล่นที่เหมาะสมกับวัยและหากิจกรรมที่ส่งเสริมจินตนาการ ได้ใช้ความคิด เช่น วาดรูประบายสี ปั้นแป้งโดว์ เล่นบทบาทสมมติ หรือเล่มเกมที่มีกฏกติกา ซึ่งการเล่นเป็นสิ่งที่ช่วยเสริมพัฒนาการของลูกให้ก้าวไกลในทุกด้าน

4. ชอบใช้อารมณ์รุนแรงกับลูก ซึ่งมีผลกับพัฒนาการทางอารมณ์ของลูกโดยตรง การที่ ลูกจะรักคนอื่นเป็น รู้จักกฏเกณฑ์ มีน้ำใจ เคารพสิทธิผู้อื่นจะต้องเริ่มต้นที่แบบอย่างที่ดีจากพ่อแม่ พัฒนาการด้านนี้จะถูกขัดขวางถ้าลูกไม่ได้รับความรักจากพ่อแม่ ซึ่งหากพ่อแม่เครียดหรือมีพฤติกรรมที่รุนแรง ทะเลาะกัน มีการเฆี่ยนตี ใช้วาจาไม่สุภาพทุกครั้งที่ลงโทษลูก ก็จะทำพัฒนาการทางอารมณ์ของลูกไม่มั่นคง และอาจกลายเป็นคนก้าวร้าวในที่สุด
ต้องเปลี่ยน : การจะให้ลูกมีพัฒนาการทางอารมณ์ที่ดี ลูกต้องอยู่ในบรรยากาศหรือครอบครัวที่มีความรัก ความอบอุ่น มั่นคง ไม่มีความรุนแรง พ่อแม่ควรหลีกเลี่ยงการใช้อารมณ์ที่รุนแรง หลีกเลี่ยงการลงโทษที่ทำให้เขารู้สึกเจ็บปวด เช่น การตี ที่สำคัญต้องรู้จักแสดงออกถึงความรัก เมื่อลูกทำอะไรได้ด้วยตัวเองก็ให้คำชมเชยและให้กำลังใจลูก

วัยเยาว์นอนพอ = พัฒนาการดีรอบด้าน

การ นอนไม่เพียงพอเป็นปัจจัยหนึ่งที่ขัดขวางพัฒนาการลูกวัยเยาว์ทั้งด้านร่างกาย และอารมณ์ หากลูกนอนไม่เพียงพอจะทำให้ความจำและสมาธิด้อยลง ไม่สดชื่นร่าเริง เพราะสมองจะมีการซ่อมแซมและเติบโตในช่วงตอนหลับ พ่อแม่จึงควรให้ลูกวัยนุบาลนอนวันละ12 ชั่วโมง หรือช่วงกลางคืน 10 ชั่วโมง และกลางวันอีก 1-2 ชั่วโมง

หากพ่อแม่เอาใจใส่ มีเวลาคุณภาพร่วมกับลูกอย่างเพียงพอ เปิดโอกาสให้ลูกได้เล่น ได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ อย่างเต็มที่ และคอยให้กำลังใจ ก็ช่วยให้ลูกรู้สึกมั่นใจปลอดภัย พร้อมก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง

โดย ??? : 2014-01-29 04:45:15 IP : 110.171.183.127

ข้อความ *
รูปภาพ (รูปต้องมีขนาดไม่เกิน 50 k)
ผู้แสดงความคิดเห็น *
Email
 
New Code
Verify Code *

Your Data :
IP : 3.227.252.87
Internet form : ec2-3-227-252-87.compute-1.amazonaws.com
Date : 2024-03-28 15:01:36